อบรมออนไลน์

อบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​ 2566

อบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​ 2566

ขอ​เชิญอบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​ 2566

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา วันนี้ขอเชิญชวนครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจ อบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​ 2566

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​ 2566 จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

ขอ​เชิญอบรมโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปี 2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์​ (e -​ Learning)​ ตั้งแต่​วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​นี้​เท่านั้น​ เรียนจบรับเกียรติ​บัตร​ไปเลยจ้าLink เข้าระบบการเข้าอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ด้วย สำนักงานเลขาริการสภาผู้แทนราษฎร กำหนดจัดโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเต็กและเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๖ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) โดยจะเปิดอบรม (http:/learn.pantiamentth/lms/) ตั้งแต่วันที่ ๑-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เยาวชนที่ผ่านเกณฑ์การทตสอบความรู้ จะไต้รับเกียรติบัตรออนไลน์ จากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สามารถติตตามเพิ่มเติมไต้ที่ “กิจกรรมกลุ่มงานเผยแพร่ฯ”

ขอ​เชิญอบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566 รับเกียรติบัตรจากรัฐสภา วันนี้​ -​ 28 กุมภาพันธ์​นี้
อบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566

ตัวอย่างเกียรติบัตร

อบรมออนไลน์โครงการรัฐสภาสัญจร ประจำปี 2566

ที่มา :: https://www.kruachieve.com/

ประวัติรัฐสภาไทย

  นับจากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการเมืองการปกครองของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรกจำนวน ๗๐ คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะราษฎร ได้ทำการประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๕ ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ประชุมชั่วคราว ในการประชุมครั้งนี้มีมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นายพลตรีพระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อปฏิบัติงานราชการประจำของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสถาปนาขึ้นในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๕

          สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งมารองรับ ไม่มีงบประมาณและสถานที่ทำการเป็นของตนเอง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานในขณะนั้นมีอยู่ทั้งหมด ๗ คนด้วยกัน คือ หลวงคหกรรมบดี นายปพาฬ บุญ – หลง นายสนิท ผิวนวล นายฉ่ำ จำรัสเนตร นายสุริยา กุณฑลจินดา นายน้อย สอนกล้าหาญ และนายประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง ๗ คนนี้ ได้อาศัยวังปารุสกวันใช้เป็นสถานที่ทำงาน โดยไม่ได้รับเงินเดือน เพราะสำนักงานฯ ไม่มีงบประมาณ นอกจากทางการได้จัดเลี้ยงอาหารแก่เจ้าหน้าที่ทุกมื้อเท่านั้น

          ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๖ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎรดำเนินไปโดยสมบูรณ์ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำขึ้นหน่วยหนึ่งมีฐานะเป็นกรมขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร เรียกว่า “ กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ” ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบและให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ เป็นอันว่ากรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดตั้งโดยกฎหมายตั้งแต่บัดนั้น ( ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๗๖ ) และในปีเดียวกันนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหาร และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อของ “ กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ” เป็น “ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ”               

          สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดวางระเบียบราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้นตามกฎหมายฉบับใหม่โดยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองปฏิคม และกองบรรณารักษ์และกรรมาธิการ

          เมื่อใกล้กำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก พระยาพหลพลพระยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ควรจะได้มีที่ทำการถาวรขึ้นเพื่อเป็นที่ติดต่อกับสมาชิกสภา จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ให้เป็นที่ทำการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่กราบบังคมทูลแต่ในขณะที่เตรียมจะย้ายที่ทำการนั้น เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง ได้ทำความตกลงกับเจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ใช้อาคารสำนักงานราชเลขานุการ ในพระองค์ เป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแทนพระตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ที่ได้ตกลงไว้แต่เดิม เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ย้ายที่ทำการจากวังปารุสกวันมาประจำอยู่ที่อาคารสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ตั้งแต่บัดนั้นมา

          ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมขึ้นใหม่ โดยได้ยกฐานะสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นทบวงการเมือง และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัยและเพื่อให้การปฏิบัติราชการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๒ กอง คือ สำนักงานเลขานุการ และกองกรรมาธิการ

          ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๘๙ ขึ้นใช้ ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ประกาศใช้มาเป็นเวลานานถึง ๑๔ ปีแล้ว และเหตุการณ์บ้านเมืองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ประกอบกับประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจระบอบการปกครองนี้ดีขึ้นจึงควรที่จะยกเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังนั้น รัฐสภาไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๘๙ ฉบับนี้ได้นำเอาระบบสภาคู่มาใช้เป็นครั้งแรก กล่าวคือ รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภา ( สภาสูง ) และสภาผู้แทน ซึ่งพฤฒสภานั้นประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง จึงทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเดิมแยกออกเป็น ๒ สำนักงาน คือ “สำนักงานเลขาธิการพฤฒสภา” และ “สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน” การดำเนินงานฝ่ายธุรการของสำนักงานทั้งสองแยกออกต่างหาก จากกันตามแบบอย่างเดียวกับรัฐสภาของประเทศที่ใช้ระบบสองสภา

          สำหรับสำนักเลขาธิการพฤฒสภา ( นายไพโรจน์ ชัยงาม ) เป็นผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติราชาการประจำ และ ขึ้นตรงต่อประธานพฤศสภา สถานที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาได้ใช้ตึกราชเลขานุการในพระองค์เป็นที่ทำการ ส่วนสถานที่ทำการของสำนักวานเลขาธิการสภาผู้แทนนั้นได้ย้ายได้ไปอยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งอนันตสมาคม การประชุมของพฤฒสภาได้ใช้พระที่นั่ง อภิเภกดุสิต เป็นที่ประชุม ส่วนการประชุมสภาผู้แทนและการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา ( พฤฒสภาและสภาผู้แทน ) นั้นคงใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ประชุมในกรณีที่มีการประชุมร่วมกันระหว่างพฤฒสภาและสภาผู้แทนหรือที่เรียกว่า ประชุมรัฐสภานั้น งานฝ่ายธุรกิจที่เกี่ยวกับการประชุมรัฐสภา เช่น การจัดระเบียบวาระ การแจกระเบียบวาระ การจดรายงานการประชุม ตลอดถึงการยืนยันมติ และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมรัฐสภาเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนทั้งสิ้น และการทำหน้าที่ในที่ประชุมรัฐสภาเลขาธิการสภาของทั้งสองสภาต้องทำหน้าที่ในที่ประชุมร่วมกัน

อ่านต่อได้ที่ :: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=2406

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button