ดาวน์โหลดไฟล์งานครู

เผยแพร่ผลงาน Best Practice เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนวัดพรหมสาคร ด้วยกระบวนการ ALIVE MODEL โดย นางสาววีณ์รฐา จารุเสรณีย์

เผยแพร่ผลงาน Best Practice เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนวัดพรหมสาคร ด้วยกระบวนการ ALIVE MODEL โดย นางสาววีณ์รฐา จารุเสรณีย์

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ขอแนะนำผลงาน Best Practice เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนวัดพรหมสาคร ด้วยกระบวนการ ALIVE MODEL โดย นางสาววีณ์รฐา จารุเสรณีย์

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าBest Practice เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนวัดพรหมสาคร ด้วยกระบวนการ ALIVE MODEL โดย นางสาววีณ์รฐา จารุเสรณีย์ จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

ความสำคัญของผลงาน

ในอดีตที่ผ่านมา การทุจริตคอร์รัปชัน มักเกิดขึ้นเฉพาะในวงราชการ ได้แก่ การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และการทุจริตในการให้สัมปทาน หรือกิจการของรัฐ แต่ในช่วงเวลา 25 ปีที่ผ่านมา (ปี 2535-2560) ได้มีการทุจริตแบบใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การทุจริตโดยการทำลายระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือผลประโยชน์ทับซ้อนและการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งลักษณะการทุจริตดังกล่าว มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทุจริตให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น กล่าวคือ เป็นการทุจริตที่ต้องใช้ความร่วมมือของบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มทุนธุรกิจ ซึ่งเป็นเครือญาติหรือพวกพ้องของนักการเมือง และกลุ่มข้าราชการ (โชคสุข กรกิตติชัย, มปป)สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 มีหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของไทย ตลอดระยะเวลา 25 ปีของการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช มุ่งสร้างให้สังคมไทยไม่ทนต่อการทุจริต โดยดำเนินนโยบายเชิงรุก ทั้งด้านปราบปรามการทุจริต ควบคู่กับการปลูกจิตสำนึก คุณธรรมและจริยธรรม พร้อมบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดการเฝ้าระวังและการส่งเสียง นำไปสู่การเปิดโปงถึงความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการทุจริตในทุกรูปแบบ แม้ว่าจะมีการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันยังพบปัญหาการทุจริตเกิดขึ้น โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบมีวิธีซับซ้อนมากขึ้น เช่น การทุจริตเชิงนโยบาย ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ใช้อำนาจอิทธิพลแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม การให้สินบนระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดของคนในสังคมยังไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้ จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา (พนิฎนาต ขวัญแสนสุข, 2567)หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) เป็นผลงานที่สำนักงาน ป.ป.ช.พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในกระบวนการการศึกษาของไทย เพราะหลักสูตรต้านทุจริตศึกษามีวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนตน สิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตพอเพียงต้านทุจริต ละอาย และเกรงกลัวที่จะไม่ทุจริตและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบผ่านสถาบันการศึกษาซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และสถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร สถาบันการศึกษาในสังกัด ตช.สถาบันการศึกษาทางทหาร รวมถึงระดับอุดมศึกษา2เพื่อให้ครอบคลุมทั้งระบบการศึกษา นอกจากนี้ ยังรวมถึงหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรของรัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจในหน่วยงานภาครัฐ โดยแต่ละหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหา 4 ชุดวิชา ดังนี้ 1.การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ชุดวิชาดังกล่าวเน้นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนระบบการคิดของคนในสังคมแยกแยะให้ได้ว่า “เรื่องใดเป็นประโยชน์ส่วนตนเรื่องใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม” โดยนำวิธีคิดแบบฐาน 10 (Analog thinking) และฐาน 2 (Digitalthinking) มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างยั่งยืน 2.ความละอายความไม่ทนต่อการทุจริต เป็นชุดวิชาเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพสังคมให้เกิดภาวะ “ที่ไม่ทนต่อการทุจริต” โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกช่วงวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตและปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นพลเมืองดีมีจิตสาธารณะ ผ่านทางสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาทางสังคม เพื่อให้เด็ก เยาวชนผู้ใหญ่ เกิดพฤติกรรมที่ละอายต่อการกระทำความผิด การไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ3.STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต เป็นชุดวิชาที่ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประกอบกับหลักการต่อต้านการทุจริตอื่นๆ เพื่อสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้นเป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยประยุกต์หลัก “STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต” มาเป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมหน่วยงาน 4.พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม พลเมืองศึกษาเป็นการจัดการศึกษาและประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศมีความภูมิใจในความเป็นพลเมืองตนเองมีสิทธิมีเสียง สนใจต่อส่วนรวมและมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐบาล รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบบการเมืองการปกครองสิทธิและความรับผิดชอบของพลเมืองระบบการบริหารจัดการสาธารณะและระบบตุลาการ(องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน, 2567)จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสำหรับใช้ในทุกระดับการศึกษา ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต” ขึ้น และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของการกระทำการทุจริตในลักษณะต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายที่เกิดจากการทุจริต ความสำคัญของการต่อต้านทุจริต รวมทั้งจัดให้

ดาวน์โหลดไฟล์

ขอขอบคุณที่มา : นางสาววีณ์รฐา จารุเสรณีย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรหมสาคร

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button