ดาวน์โหลดสื่อ

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา วันนี้ขอนำเสนอไฟล์ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

โครงงาน   ชีวิตไม่โง่งม เพราะไม่ดมยาเสพติด
ผู้รับผิดชอบ   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1
ครูที่ปรึกษา   คุณครูแสงแข คงห้วยรอบ

ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันในประเทศของเราได้มีการใช้สารเสพติดอย่างแพร่หลายมากด้วยความอยากรู้อยากลองของวัยรุ่นในสมัยนี้ทำให้ซึ่งทำลายความมั่นคงของชาติและสังคมอย่างมาก เด็กเสียอนาคตสารเสพติดเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆแล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวันหรือวันละหลาย ๆ ครั้งปัญหายาเสพติดมิได้เกิดแต่เฉพาะประชากรในวัยแรงงานเท่านั้นปัญหานี้ยังเกิดขึ้นกับบุคคลในวัยเรียนด้วยเช่นกัน ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ของเยาวชนในสถานศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้นรวมทั้งนิดของยาเสพติดก็มีความร้ายแรงเพิ่มขึ้นตามลําดับ

              เราจึงคิดค้นที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาต่อสังคม กระทบกระเทือนต่อประชาชนผู้ไม่ได้เสพยาเสพติดอีกด้วย 

วัตถุประสงค์ที่ศึกษา
1. เพื่อศึกษาโทษและพิษภัยของยาเสพติด
2. เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากยาบ้า

ขอบเขตการศึกษา
   –    ศึกษาโทษและพิษภัยของสารระเหย
–    ศึกษาวิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากสารระเหย

เป้าหมาย   นักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี
ระยะเวลา  มิ.ย. –  ก.ย. 59

วิธีดำเนินงาน

  • วัสดุอุปกรณ์

1.คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
2.แผ่นภาพการศึกษา/หนังสือเรียน
3.กระดาษ
4.สีเมจิก
5.สีไม้
6.ดินสอ
7.ยางลบ
8.ไม้บรรทัด

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.วางแผนการศึกษาข้อมูล ร่วมกับคุณครู และเพื่อนในห้องเรียน
2.กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา และกำหนดสมาชิกที่จะศึกษาค้นคว้า
3.ค้นคว้าจากแผ่นภาพการศึกษา ค้นคว้าจากอินเทอร์เนต หรือจากหนังสือห้องสมุด
4.รวบรวมข้อมูล จัดทำเป็น ข้อมูลในการจัดทำสื่อสร้างสรรค์ต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มวางแผนไว้ เช่น  แผ่นพับ ป้ายนิเทศ  ของจำลอง

5.ดำเนินการเผยแพร่ดังนี้
5.1 นำเสนอต่อเพื่อนในชั้นเรียน นำไปเป็นสื่อในห้องเรียนสีขาวและจัดป้ายนิเทศได้
5.2 นำเสนอในโอกาสวันสำคัญ เช่น วันต่อต้านยาเสพติดโลก
5.3 นำเสนอเป็นผลงานในชั้นเรียน ในวันเปิดโลกวิชาการ

6. สอบถามผู้ที่ได้ฟัง หรือได้รับสื่อสร้างสรรค์ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
7.นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง การดำเนินการในครั้งต่ไป

ผลการดำเนินงาน
จากผลการศึกษา ดังนี้

  1. ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า

                     ลักษณะของสารระเหย คือ เป็นสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้ในอากาศและมีคุณสมบัติในการทำลายและใช้ในการอุตสาหกรรม เช่น ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ กาว ฯลฯ เรานำสารระเหยมาใช้เป็นส่วนผสมในสีสเปรย์ น้ำยาล้างเล็บ กาวยางน้ำ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของสารระเหยไม่ใช่สารเสพติดแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม แต่ที่กลับกลายมาเป็นปัญหาเพราะคนนำมาใช้ในทางที่ผิด จงใจสูดดมให้เกิดอาการมึนเมาจนติด เกิดโทษพิษภัยอย่างมหันต์ เด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลงผิดหันไปลองสูดดมสารระเหย และเกิดภาวะเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณสมบัติของสารระเหย เนื่องจากสารระเหยมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย พกพาสะดวก ออกฤทธิ์เร็ว และ ช่วยให้ผู้เสพเคลิบเคลิ้ม เป็นสุข ร่าเริง ลืมความทุกข์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการเสพสารระเหย ทำให้ผู้เสพตัดสินใจเสพสารระเหยง่ายขึ้น

                     เราสามารถป้องกันการติดสารระเหยได้โดยการปฏิบัติดังนี้
                   1. รู้จักป้องกันตนเอง โดยการหาความรู้เกี่ยวกับสารระเหย อย่าหลงเชื่อคำชักชวนให้เสพ เมื่อมีปัญหาควรใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา ปรึกษาผู้ใหญ่ หรือหาทางออกโดยการเล่นกีฬา และทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ
                   2. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้สารระเหยในการประกอบอาชีพหรือทำงาน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลาก และขณะที่ใช้สารระเหยควรใช้ผ้าปิดปากจมูก อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่เหนือลม เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับสารระเหย
                   3. สำหรับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกต และสอดส่องดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ด้วยการให้ความรัก ความเข้าใจ ตลอดจนให้เวลาแก่บุตรหลานของตนเองอย่างเพียงพอ หากพบผู้ใดติดสารระเหย ไม่ควรกระทำการรุนแรง ควรรีบหาสาเหตุ และแก้ไข โดยปรึกษาแพทย์ และนำไปบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป

  • จากการสอบถามผู้ที่ได้รับการเผยแพร่  พบว่า มีความเข้าใจเกี่ยวกับ สารระเหยมากขึ้น  เป็นสื่อที่น่าสนใจ สีสันสวยงาม  เผยแพร่เข้าใจได้ง่าย

สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
จากการดำเนินงานโครงงาน ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
1.นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานีรู้ถึง โทษของการเสพสารระเหย
2.นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานีมีแนวทางป้องกันตนเองจากสารระเหย

บรรณานุกรม
–    http://www narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=6444

เครดิต :โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button