ดาวน์โหลดสื่อ

เผยแพร่ผลงาน Best Practice OCC ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 โดย เพจครูสายบัว

เผยแพร่ผลงาน Best Practice OCC ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 โดย เพจครูสายบัว

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราขอแนะนำ เผยแพร่ผลงาน Best Pracitce ปี 2567 ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 โดย เพจครูสายบัว

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เผยแพร่ผลงาน Best Practice OCC ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 โดย เพจครูสายบัว จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

เผยแพร่ผลงาน Best Practice OCC ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 - Google ไดรฟ์

เผยแพร่ผลงาน Best Practice OCC ระดับยอดเยี่ยม ปี 67 – Google ไดรฟ์

ขอบคุณที่มา : โดย ครูสายบัว

วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ

  1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย
    คือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนด้วยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหา
    เรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึก
    สาระส าคัญในขณะที่ฟังบรรยายหรืออาจมีโอกาส ซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้าง ถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้
    เหมาะส าหรับผู้ฟังจ านวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการน าเสนอเนื้อหาสาระ
    จ านวนมากในลักษณะคม ชัด ลึก โดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
    ขั้นน า เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
    ใช้ปัญหาเป็นสิ่งเร้าความสนใจ เช่น ข่าว เหตุการณส าคัญ กรณีตัวอย่าง การตั้งค าถามน า เป็นต้น
    ทดสอบความเข้าใจก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจก่อนเรียน
    ขั้นอธิบาย อธิบายเนื้อหาสาระตามล าดับ
    ควรยกตัวอย่างประกอบการบรรยายสอดคล้องกับเนื้อหา
    ควรใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม การระดมสมอง การแสดงความคิดเห็นผ่านวิธีการต่างๆ การอภิปรายกลุ่มย่อย
    ควรใช้คำถามระหว่างบรรยาย
    ขั้นสรุป
    สรุปสาระสำคัญของการบรรยาย
    ซักถามหรืออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    ขั้นประเมินการเรียนรู้
    ทดสอบหลังเรียน ท าแบบฝึกหัดเพิ่มเติม เป็นต้น
  2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใด
    เรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน
  3. การเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงานและชื่นชมผลงานร่วมกัน
  4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small group discussion)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4-8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มมีโอกาส
    สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ประสบการณ์ในประเด็นหรือปัญหาที่ก าหนด และสรุปการอภิปราย
    ออกมาเป็นข้อสรุปกลุ่ม
  5. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
    กระบวนการที่ผู้สอน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
    โดยการแสดงหรือการกระท าให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก อธิบายพร้อมๆ กับการบอก อธิบาย ให้
    ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอน การสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียน
    ซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมส าหรับการสอนที่
    ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอน การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมกับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอน
    ของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น
    การประเมินผล
    ผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อเรื่อง ขั้นตอนการสาธิตมากน้อยเพียงใด เช่น ให้
    ตอบค าถาม ให้เขียนรายงาน ให้แสดงการสาธิตให้ดู เป็นต้น
    เครื่องมือในการวัดผล
    เช่น แบบบันทึกการสาธิตการทดลอง แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  6. การจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ (Role playing)
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนก าหนดหัวข้อเรื่อง ปัญหา หรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาคล้ายกับสภาพความเป็น
    จริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาทนั้นตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของผู้เรียนที่คิดว่าควรจะเป็น
    ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงออกทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม
    ของผู้แสดงเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
    การประเมินผล

ผู้สอนควรประเมินจากการสังเกต ผลจากการสรุปข้อคิดเห็นของผู้เรียน การสอบถาม เป็นต้น ทุกครั้ง และ
น าผลการประเมินไปใช้เพื่อปรับปรุงในการแสดงครั้ง/ตอนต่อไป

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่ง
    เป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาและบทละครที่ได้ก าหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้เรียนจะต้อง
    แสดงบทบาทหรือสมมติว่าตนเองเป็นหรือแสร้งท าเป็นตัวเขาเองหรือบุคคลอื่นหรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง โดย
    จะต้องแสดงบทบาทการใช้ภาษา แสดงสีหน้า ท่าทางกับการเคลื่อนไหวประกอบการสนทนาตามบทละครที่
    แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว และผู้แสดงจะไม่น าเอาบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของตนเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
    ซึ่งจะมีส่วนท าให้เกิดผลเสียหายต่อการแสดงบทบาทนั้นๆ วิธีการนี้จะท าให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการที่จะ
    เข้าใจในความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมของผู้อื่นและจะสามารถจดจ าเรื่องราวนั้นได้นาน
    การอภิปรายและสรุปหลังเรียน
    ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกัน โดยมุ่งถึงการอภิปรายเรื่องราวที่แสดงออกมา ความสามารถของผู้แสดง
    และประเด็นที่เป็นเนื้อหาสาระส าคัญของการเรียนรู้
  2. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จ าลอง (Simulation)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะ
    คล้ายคลึงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด ทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์โดยมีการก าหนดบทบาท ข้อมูล
    และกติกาไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขาก าลังเผชิญอยู่ ซึ่งผู้เรียน
    จะต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดประกอบกับวิจารณญาณของตนเองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์นั้นให้ดีที่สุด ซึ่ง
    การเรียนรู้แบบสถานการณ์จ าลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดีและสามารถน าไปแก้ไข
    ปัญหาในชีวิตจริงได้
    ขั้นสรุปและประเมินผล
    ผู้เรียนสามารถสรุปสาระส าคัญและประเมินผลการเรียนรู้
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่มเกมที่มีกฏเกณฑ์ กติกา เงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่
    ยุ่งยากซับซ้อน ท าให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง เป็นการออกก าลังกาย เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มี

โอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมีการน าเนื้อหา ข้อมูลของเกม
พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลของการเล่นเกมมาใช้เพื่อการอภิปรายเพื่อสรุปผลการเรียนรู้
ขั้นการอภิปรายหลังการเล่นและการสรุปผล
มีการตั้งประเด็นค าถามเพื่อน าไปสู่การอภิปราย เกี่ยวกับเทคนิคหรือทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนได้รับ และ
ประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระต่างๆ ที่ได้รับ เช่น การทดสอบความรู้ การให้เขียนแผนผังความคิด เป็นต้น

  1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียน “วิธีการเรียนรู้” อย่างเป็นขั้นตอน หรือเป็นกระบวนการ
    โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติ ท ากิจกรรมต่างๆ ผู้สอนเป็นผู้ก ากับควบคุมให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ ฝึกฝน
    จนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมด จนสามารถน ามาใช้ได้อย่างอัตโนมัติและ
    น าไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ โดยเสนอแนะกระบวนการที่ผู้สอนควรใช้ 13 กระบวนการคือ 1. ทักษะ
    กระบวนการ (9 ขั้นตอน) 2. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด 3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4.
    กระบวนการแก้ปัญหา 5. กระบวนการสร้างความตระหนัก 6. กระบวนการปฏิบัติ 7. กระบวนการคณิตศาสตร์
    8.กระบวนการทางภาษา 9. กระบวนการกลุ่ม 10. กระบวนการสร้างเจตคติ 11. กระบวนการสร้างค่านิยม 12.
    กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ 13. กระบวนการสืบสวน สอบสอน
  2. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือปฏิบัติเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิผลต่อการ
    เรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน และสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีอิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน การจัดการ
    เรียนรู้โดยกระบวนการกระบวนการลุ่มมีหลายวิธี เช่น เกม บทบาทสมมติ กรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม เป็น
    ต้น
    การวัดและการประเมินผล
  3. สังเกตจากการท างาน กระบวนการท างาน พฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม บทบาทผู้น า ผู้ตาม
    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  4. ซักถามสมาชิกให้ทั่ว ให้นักศึกษาได้มีโอกาสคิดค้นค าตอบและแก้ปัญหาร่วมกัน ผู้สอนฟังและ
    สังเกตจากค าตอบของผู้เรียน
  5. พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

  1. ทดสอบข้อเขียน ควรมีบ้าง แต่ไม่ควรให้ความส าคัญมาก
  2. ผลงานของผู้เรียน พิจารณาทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล
  3. ให้ผู้เรียนมีโอกาสหรือมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลด้วย
  4. มีการประเมินผลผู้เรียนทุกครั้ง
  5. ผู้เรียนต้องรู้ผลการประเมินและวัดผลของตนเอง
  6. ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผู้สอนด้วย
  7. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Corporative Learning)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มี
    ความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการท างาน
    ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้ง
    ในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความส าเร็จตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้
    การประเมินผล
    การประเมินผลแบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    ประเมินจากการท างานกลุ่มร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการ
    ทำงานกลุ่ม
    ประเมินจากผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
    ประเมินจากการบันทึกการรายงานผลอภิปราย/ ประเมินผลงานการน าเสนอของสมาชิกแต่ละคน
    ให้สมาชิกของกลุ่มทราบ
    ตรวจผลงาน
    สังเกตการตอบค าถาม ความสนใจ การสื่อความหมายและมารยาทในการฟัง
    ประเมินผลงานการน าเสนอของสมาชิกของแต่ละคนให้สมาชิกของกลุ่มทราบ

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT
    เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันอีกรูปแบบหนึ่ง คล้ายกับเทคนิค STAD ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความสามารถ
    แตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อท างานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยก าหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขัน
    กันในเกมการเรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ท าการทดสอบความรู้ โดยการใช้เกมการแข่งขัน คะแนนที่ได้จาก
    การแข่งขันของสมาชิกแต่ละคน ในลักษณะการแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่น น าเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของ
    ทีม ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่น ให้รางวัล ค าชมเชย เป็นต้น ดังนั้น สมาชิกกลุ่มจะต้องมี
    เป้าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อความส าเร็จของกลุ่ม
  2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Division)
    เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันอีกรูปแบบหนึ่งคล้ายกันกับเทคนิค TGT ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความสามารถ
    แตกต่างกันออกเป็นกลุ่ม เพื่อท างานร่วมกันกลุ่มละ 4-5 คน โดยก าหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้ในเนื้อหา
    สาระที่สอนจัดเตรียมไว้แล้วท าการทดลองความรู้ คะแนนที่ได้จากการทดสอบสมาชิกของแต่ละคนน าเอามา
    บวกเป็นคะแนนรวมของทีม ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่น การให้รางวัล ค าชมเชย เป็นต้น ดังนั้น
    สมาชิกกลุ่มจะก าหนดเป้าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อความส าเร็จของกลุ่ม
    ขั้นประเมินผล
    ทดสอบย่อย
    ตรวจสอบการพัฒนา
    จัดทำคะแนนการพัฒนา
    นำคะแนนเทียบระดับคุณภาพ
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)
    เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการต่อภาพ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมาย
    ให้ท ากิจกรรมเดียวกัน ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะให้เรียนรู้ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจ านวนสมาชิกแต่
    ละกลุ่ม และมอบหมาย ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษา ค้นคว้าคนละหัวข้อ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ
    เฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้ศึกษาจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันก็จะ
    ท าการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน จากนั้นผู้เรียนแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน เพื่อท าหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ
    อธิบายความรู้ เนื้อหาสาระที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาสาระครบทุก
    หัวข้อย่อยและเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระทั้งเรื่อง

  1. การเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration Instruction)
    การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้า
    ด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้จริงใน
    ชีวิตประจ าวัน
  2. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
    เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น าเอาสาระการเรียนรู้จากหลากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกัน เพื่อ
    จัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่อง (Theme) เดียวกัน โดยผูกเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) เรื่องแต่ละตอนจะต่อเนื่องกัน
    และมีล าดับเหตุการณ์ (sequence) หรือที่เรียกว่าเส้นทางเดินของเรื่อง (Topic line) และใช้ค าถามหลัก (Key
    questions) เป็นตัวน าไปสู่การให้ผู้เรียนท ากิจกรรม (Activity) อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะส่งเสริมให้
    ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง ได้ลงมือปฏิบัติจริง เน้นทักษะการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจ กระบวนการ
    กลุ่ม ตลอดจนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ storyline จึงเป็นการบูรณาการเนื้อหา
    สาระและทักษะกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน
  3. การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (มปภ.) (Concentrated Language Encounter)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ทางด้านภาษาที่เรียนรู้จากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย สามารถท าให้ผู้เรียนเกิดการ
    เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิตประจ าวัน ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะทางด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง
    ตามล าดับขั้นของการเรียนรู้ ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนี้ยังเน้นกระบวนการกลุ่มและการบูรณาการที่
    สอดคล้องสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้อีกด้วย
  4. การเรียนรู้แบบชี้แนะ (Direct Instruction)
    เป็นรูปแบบการสอนที่มีเป้าหมายเพื่อฝึกทักษะหรือให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้เรียนเพื่อให้มีพฤติกรรมตาม
    วัตถุประสงค์ที่ได้ก าหนดการเรียนการสอนแบบชี้แนะนี้ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรม
    นิยมและจิตวิทยาการ ฝึกการเรียนการสอน เน้นการฝึกและเสริมแรงในขณะเรียนและฝึกปฏิบัติงาน และค่อย
    ลดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่ต้องการ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนสามารถท างานได้อย่าง
    มีล าดับขั้นตอน รวมทั้งสามารถท างานกับคนอื่นได้ การฝึกจะแบ่งออกเป็นทักษะย่อย เรียงล าดับตามความ
    ซับซ้อนของทักษะ

  1. การจัดการเรียนรู้แบบเอสคิว 3 อาร์
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสอนการเปลี่ยนหัวข้อ ให้เป็นประโยคค าถาม โดยการฝึกให้ผู้เรียนกวาด
    สายตาหาหัวข้อเรื่องแล้วเปลี่ยนหัวข้อนั้นๆ เป็นค าถาม สอนและฝึกให้ผู้เรียนบันทึกสิ่งที่จะได้จากการอ่าน
    เมื่ออ่านจบข้อความแล้วและฝึกให้ผู้เรียนทบทวนโดยการตรวจสอบบันทึกที่เขียนไว้ รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้
    ในการสอนการอ่าน
    ที่มา : สุวิทย์ มูลค าและอรทัย มูลค า. (2545). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.
    กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

20 วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหา

ความรู้ด้วยตนเอง

  1. การจัดการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
    เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนที่ค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยจะจัดให้
    สอดคล้องกับสติปัญญา ความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ และความสะดวกของผู้เรียนแต่ละบุคคล ซึ่ง
    ผู้เรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์เรียนรู้จากการศึกษา ค้นคว้า สืบค้นด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
    ความสามารถและความสะดวกของผู้เรียนเองเป็นส าคัญ
  2. การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน (Learning center)
    เป็นกระบวนการที่ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
    ตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถจากศูนย์การเรียนที่ผู้สอนได้จัดเตรียมเนื้อหาสาระ กิจกรรม
    และสื่อการสอนแบบประสม โดยปกติศูนย์การเรียนจะมีหลายศูนย์ แต่ละศูนย์จะมีเนื้อหาสาระและกิจกรรม
    เบ็ดเสร็จในตนเอง ผู้เรียนจะหมุนเวียนกันเข้าศึกษาหาความรู้จากศูนย์ต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้อย่างหลากหลายจน
    ครบทุกศูนย์ ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมต่างๆ ตามที่โปรแกรมได้ก าหนดเอาไว้ภายใต้การดูแลของผู้สอน
    ซึ่งผู้สอนจะท าหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียมศูนย์การเรียน ให้ค าแนะน าอ านวยความสะดวกในการเรียนรู้ พร้อมทั้ง
    ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction)
    เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียนส าเร็จรูปไว้ล่วงหน้า ที่จะให้
    ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเรียนรู้ได้เร็วหรือช้าตามความสามารถของบุคคล โดยบทเรียนดังกล่าวจะเป็น
    บทเรียนที่น าเนื้อหาสาระที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆ หลายๆ กรอบ (frames) เพื่อให้ง่ายต่อ
    การเรียนรู้ในแต่ละกรอบจะมีเนื้อหาค าอธิบายและค าถามที่เรียบเรียงไว้ ต่อเนื่องกันโดยเริ่มจากง่ายไปหายาก
    เพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามล าดับบทเรียนโปรแกรมที่สมบูรณ์จะมีแบบทดสอบความก้าวหน้าของการเรียน
    โดยผู้เรียนสามารถท าการทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ทันที
  4. การจัดการเรียนโดยใช้บทเรียนโมดูล (Induction Module) หรือหน่วยการเรียน
    เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างบทเรียนเป็นหน่วยที่มีเนื้อหาและกลุ่มประสบการณ์จบใน
    ตัวเอง สร้างขึ้นเมื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้แน่นอนและชัดเจน โมดูล

หนึ่งๆ จะประกอบด้วยแนวคิด วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน สื่อและการประเมินผล ตามปกติมักนิยมจัดไว้
ในลักษณะเป็นแฟ้มห่วงชนิดปกแข็งบรรจุเอกสารพิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดีหรือรวบรวมเป็นชุดเอกสาร เป็น
หนังสือ เป็นต้น

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้จากชุดการสอน เป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะผสม (Multi-media) เป็นการใช้
    สื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ตามต้องการ โดยอาจจัดขึ้นส าหรับหน่วยการเรียน
    ตามหัวข้อเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วยทีต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจัดเอาไว้เป็นชุดๆ
    บรรจุในกล่อง ซองหรือกระเป๋า ชุดการสอนแต่ละชุดประกอบด้วยเนื้อหาสาระ บัตรค าสั่ง/ใบงานในการท า
    กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร/ใบความรู้ เครื่องมือหรือสื่อที่จ าเป็นส าหรับกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งแบบวัด
    ประเมินผลการเรียนรู้
    ประเมินผลการเรียน
    โดยการท าแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพื่อจะได้ปรับปรุง
    แก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน ในกรณีที่ไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ก าหนดในข้อใดข้อหนึ่ง
  2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) (Computer Assisted Instruction)
    เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาประยุกต์ใช้เป็น
    สื่อหรือเครื่องมือส าหรับการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระหรือประสบการณ์ส าหรับผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจัดเป็น
    ลักษณะบทเรียนหน่วยการเรียนหรือโปรแกรมการเรียน เป็นต้น
  3. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Method)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
    ความถนัดและความสามารถของตนเอง ซึ่งอศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ที่เป็น
    ระบบ ไปใช้ในการศึกษาหาค าตอบในเรื่องนั้นๆ ภายใต้ค าแนะน า ปรึกษาและความช่วยเหลือจากผู้สอนหรือผู้
    ที่เชี่ยวชาญ เริ่มตั้งแต่การเลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่จะศึกษา การวางแผน การด าเนินงานตามขั้นตอนที่ก าหนด
    ตลอดจนการน าเสนอผลงาน ซึ่งในการท าโครงงานนั้นสามารถท าได้ทุกระดับชั้น อาจเป็นรายบุคคลหรือราย
    กลุ่ม จะกระท าในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้
  4. การจัดการเรียนรู้โดยไปทัศนศึกษา (Field Trip)

เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่น าผู้เรียนออกไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องนั้น (ซึ่งอยู่
นอกสถานที่เรียนกันอยู่โดยปกติ โดยมีการศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธีการที่
ผู้สอนและผู้เรียนได้ร่วมกันวางแผนไว้ และมีการอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้ศึกษาเรียนรู้
การประเมินผล
เป็นขั้นที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลเพื่อให้ทราบว่าการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้มีผลเป็นอย่างไร
เช่น บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ปัญหาหรืออุปสรรคมีอะไรบ้าง ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่นๆ ซึ่งอาจประเมิน
ได้จากการสอบถาม การสังเกต หรือข้อเสนอแนะต่างๆ เป็นต้น

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ
    หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ ในการวางแผนเพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่ง
    เรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
    การประเมินผล
    เป็นขั้นที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน ประเมินผลเพื่อให้ทราบว่าการไปทัศนศึกษาครั้งนี้มีผลเป็นอย่างไร เช่น
    บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ปัญหาและอุปสรรคมีอะไรบ้าง ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่นๆ ซึ่งประเมินได้จาก
    การสอบถาม การสังเกต หรือข้อเสนอแนะต่างๆ เป็นต้น
  2. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติกับสิ่งที่เรียนจริงๆ แล้วพิจารณาให้เห็นประโยชน์
    คุณ โทษ ตามความเป็นจริงด้วยตนเอง แล้วน าความรู้นั้นมาเป็นหลักฐานในการปฏิบัติอย่างจริงจัง
  3. การจัดการเรียนรู้โดยศรัทธาและโยสิมนสิการ
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดที่ถูกวิธี คิดเป็นหรือคิดอย่างมีระเบียบ รู้วิธีคิดหาสาเหตุ
    สืบสาว แยกแยะปัญหาได้ โดยไม่เอาอุปทานของตนเองเข้าจับ “โยนิโส” แปลว่า เหตุ ต้นเหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด
    ปัญหา อุบาย วิธีการ “มนสิการ” แปลว่า การท าในใจ การคิด การค านึง ใส่ใจพิจารณา เมื่อรวมเป็น โยนิโส
    มนสิการ หมายถึง การท าใจโดยแยบคาย
    การประเมินผล

เช่น การวัดผลด้วยการประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียน

  1. การจัดการเรียนรู้ด้วยการท าค่านิยมให้กระจ่าง
    เป็นกระบวนการที่ให้บุคคลได้ตรวจสอบสิ่งที่เค้าเห็นคุณค่า จนเกิดความกระจ่ายในสิ่งที่เค้าควรมองเห็น
    คุณค่านั้น โดยถือว่าการที่คนจะเห็นคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นเลือกสรรด้วยตัวของเขาเอง
    เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นแล้วแสดงออกเป็นพฤติกรรม
  2. การจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์
    เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่น าเอาขั้นตอนทั้ง 5 ชั้นของเบญจขันธ์มาใช้ ซึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนยึดมั่นใน
    คุณธรรม โดยการควบคุมให้ผู้เรียนกระท าทางกายและจิตใจตามล าดับตั้งแต่การควบคุมสิ่งเร้าหรือรูป การรับรู้
    เข้าจิตใจหรือเวทนา ลึกเข้าไปถึงการวิเคราะห์สภาวะธรรมที่รับเข้ามาหรือสัญญา และพิจารณาแง่ดีและชั่ว
    ภายหลังที่วิเคราะห์แล้วว่า ควรยอมรับในแง่ใดหรือสังขาร แล้วในส่วนที่ยอมรับนั้นตกตะกอน เป็นส่วนหนึ่ง
    ของความรู้สึกในถาวรที่จิตใจ หรือที่เรียกว่าวิญญาณ คุณธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนนับว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่
    เป็นธรรมชาติที่สุด
  3. การจัดการเรียนรู้ตามขั้นที่สี่ของอริยสัจ
    เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ โดยผู้เรียนพยายามคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้ล าดับขั้นตอนทั้งสี่
    ขั้นของอริยสัจเป็นแนวทางการแก้ปัญหาของตนเอง
  4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งปลูกฝังคุณลักษณะและบุคลิกภาพของผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็น
    ขั้นตอนที่สอดคล้องกับระดับขั้นพัฒนาของพฤติกรรมด้านคุณลักษณะ ซึ่งจะท าให้เกิดคุณลักษณะนิสัยที่ดีและ
    ถาวรขึ้นในตัวผู้เรียน
  5. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรม
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนที่พึงปฏิบัติต่อผู้อื่นและสังคม
    โดยรวมที่อยู่ในปทัสถานของสังคม ซึ่งจะก่อให้เกิดความสันติสุขแก่สังคม
    การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ของคาร์ล โร
    เจอร์ (Carl Rogers, 1951) ที่ว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนจะช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมี

ความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบนี้ ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องแสดงความรัก
ความห่วงใย ความมีน้ าใจ และความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ผู้สอนเป็นผู้รับฟังผู้เรียนอย่างตั้งใจและพยายาม
ท าให้ผู้เรียนได้ระบายความในใจหรือปัญหาออกมา แล้วคอยตะล่อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาของตนเองจะช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา ช่วยในการตัดสินใจที่ดีขึ้น และเกิดมีพฤติกรรมใหม่ในที่สุด

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการกระท ากับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน โดยผู้สอนสร้างหรือน า
    สถานการณ์ด้านต่างๆ มาให้ ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ลักษณะต่างๆ ซึ่งอาจะเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่
    จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงของผู้เรียน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในการน าความรู้ ข้อมูล ข่าว มาสรุป
    ประเด็น เพื่อประเมินค่าสิ่งใดที่ถูกต้อง ดีงาม เกิดประโยชน์ ควรหรือไม่ควรแก่การปฏิบัติ และสามารถน า
    ความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ปฏิบัติได้ เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์และเจอปัญหา วิธีการจัดการเรียนรู้นี้เป็นการ
    ประยุกต์มาจากหลักพุทธธรรมและพุทธวิถี เพื่อน าไปใช้ให้เหมาะกับกาลเวลา ลักษณะเนื้อหาสาระและวัยของ
    ผู้เรียน
  2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่น านิทานเข้ามาเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์
    วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ตลอดจนการสอนคุณธรรม จริยธรรม การปรับตัว และส่งเสริมการอ่าน จินตนาการ
    ความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
  3. การจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน (Jurisprudential Inquiry Model)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ในการแก้ไขปัญหาแล้ว
    แสดงจุดยืนของตัวเองและทดสอบจุดยืนที่เลือกนั้นว่าเป็นจุดยืนที่แท้จริงของตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้คอย
    ช่วยเหลือในการทดสอบจุดยืน โดยใช้ค าถามซักค้าน ซึ่งค าถามที่ผู้สอนน ามาใช้เป็นค าถามที่ช่วยให้ผู้เรียน
    ย้อนกลับไปพัฒนาจุดยืนของตนเองและช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้วิธีการให้เหตุผลที่ถูกต้องและเหมาะสม
    ต่อไป

22 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

เป็นกระบวนการเรียนรู้ทีผู้เรียนได้ใช้ความสามารถทางสมองในการประมวลข้อมูลความรู้และ
ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ให้เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ เพื่อใช้ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสมสอดคล้อง
กัน เมื่อได้คิดแล้วก็ต้องไปปฏิบัติงานจริง จึงจะเกิดการเรียนรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเน้น
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญารณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและ
มีวิสัยทัศน์

  • ความสามารถการจ าแนกประเภทข้อมูล เปรียบเทียบและมีความคิดรวบยอด
  • สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล รู้จักพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ความถูก-ผิด ระบุสาเหตุ-ผล ค้นหา
    ค าตอบ เลือกวิธีและปฏิภาณในการแก้ปัญหา
  • มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ สามารถคาดการณ์และก าหนดเป้าหมายได้

  1. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยหรือส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ หรือกฏเกณฑ์
    หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการน าเอาตัวอย่าง ข้อมูล เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ ที่มีหลักการแฝง
    อยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฏเกณฑ์ได้ด้วย
    ตนเอง
  2. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กฏ หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริง
    หรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกน าทฤษฎี
    หลักการ หลักเกณฑ์ กฏหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย หรืออาจเป็นลักษณะให้ผู้เรียนหา
    หลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็น
    คนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมีความเข้าใจในกฏเกณฑ์ ทฤษฎี ข้อสรุปเหล่านี้อย่างลึกซึ่งการสอนแบบนี้
    อาจกล่าวได้ว่า เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสู่ตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
  3. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery method)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาค าตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้าง
    สถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับ
    ธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่น ผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีวิวิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยา
    ศึกษา หรือผู้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้นจึง
    เป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะส าหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิชา
    อื่นๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะต้องน าข้อมูล มาท าการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อ
    ค้นพบใหม่ หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
  4. การจดัการเรียนร้แู บบวิทยาศาสตร์(Scientific Method)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ได้น าเอาระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้ โดยผู้เรียน
    พยายามคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้ล าดับขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นของวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาด้วย
    ตนเอง
  5. การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Experimental Method)
    คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือศึกษาค้นคว้าหาความรู้และท าการทดลองด้วย
    ตนเอง เพื่อท าการพิสูจน์หลักการทฤษฎี หรือข้อเท็จจริงต่างๆ โดยก าหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานในการ
    ทดลอง ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ก าหนด โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จ าเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
    สรุปอภิปรายผลการทดลองและสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้จากการทดลองภายใต้การแนะน า ดูแล ให้
    ค าปรึกษาและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจากผู้สอน
  6. การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method)
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ มีขั้นตอน มีเหตุผลด้วย
    ตนเอง โดยเริ่มตั้งแต่มีการก าหนดปัญหา วางแผน แก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์
    ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
  7. การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศ (Information Problem-solving approach: big 6
    skills)
    เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศ ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยี
    สารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นหา รวบรวมและการสังเคราะห์ น าเสนอและประเมินผลสารสนเทศ
    ต่างจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ
    สารสนเทศ
  8. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ค าถาม (Questioning Method)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้
    ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่าเพื่อจะตอบค าถามเหล่านี้
  9. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learned)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่าง
    รู้ตัวว่าตนคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนเองได้ และสามารถปรับเปลี่ยน
    กลวิธีคิดของตนได้ โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการท าความเข้าใจตนเอง มีการ
    วางแผน ตั้งจุดมุ่งหมายตรวจสอบความเข้าใจของตน มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการดึงมาใช้ภายหลังได้
    อย่างมีประสิทธิภาพ
  10. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case Study Method)คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้กรณีหรือเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรือสมมติขึ้นจากความจริง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล น ามาวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการเรียนรู้แบบนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการหลากหลาย สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ หรือเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวางและน าไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจ าวันได้
  1. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (Creative Teaching)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิด และสร้างผลงานแปลกๆ ใหม่ๆ ที่
    ต่างจากความคิดของคนอื่น หรือเป็นผลงานที่ยังไม่มีผู้ใดสร้างมาก่อน
  2. การจัดการเรียนรู้โดยการระดมสมอง (Brainstorming Method)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา
    ให้มากที่สุด โดยเสนอได้อย่างเสรี ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เสนอมา มี
    การบันทึกความคิดเห็น จัดเป็นหมวดหมู่หรือประเภทและตัดสินเลือกวิธีการที่สามารถน าไปใช้ในการ
    แก้ปัญหาได้
  3. การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรีนและการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม จัด
    กระบวนการเรียนรู้ตามล าดับขั้นที่ก าหนดไว้ โดยอาศัยกระบวนการเปรียบเทียบ จึงจะสามารถเพิ่มความคิด
    สร้างสรรค์ของผู้เรียนแต่ละคนและกลุ่มได้
  4. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง โดยให้
    ผู้เรียนได้ศึกษา คิด ค้นคว้า ทดลอง ระดมสมอง ศึกษาจากใบความรู้ สื่อหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งจะมี
    การเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว โดยผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยเหลือ มีการ
    ตรวจสอบความรู้ใหม่ ซึ่งสามารถกระท าได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ระหว่างกลุ่ม หรือผู้สอนช่วยเหลือใน
    การตรวจสอบความรู้ใหม่
  5. การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
    คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการฝึกให้ผู้เรียนรู้จัก
    ศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยผู้สอนตั้งค าถามกระตุ้นในผู้เรียนใช้กระบวนการทางความคิด หาเหตุผลจน
    ค้นพบความรู้หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง สรุปเป็นหลักการ กฎเกณฑ์หรือ
  6. วิธีการในการแก้ไขปัญหาและสามารถน าไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการควบคุม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
  7. หรือสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในสภาพการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
  1. การจดัการเรียนร้แู บบสืบเสาะแสวงหาความร้เูป็นกล่มุ (Group Investigation Method)

คือ กระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตย รู้จักการ
ท างานร่วมกับผู้อื่น การท างานระบบกลุ่ม การศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ส่งผลท าให้ผู้เรียน
เกิดนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองด้วยความมั่นใจ

  1. การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT
    เป็นการจัดการเรียนรู้ค านึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียน 4 คุณลักษณะ กับพัฒนาการสมอง
    ซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามแบบและความต้องการของตนเองอย่าง
    เหมาะสม และสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งได้แก่
    ผู้เรียนแบบที่ 1 (Why) ผู้เรียนที่มีจินตนาการเป็นหลัก
    ผู้เรียนแบบที่ 2 (What) ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์และการเก็บรายละเอียดเป็นหลัก
    ผู้เรียนแบบที่ 3 (How) ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยสามัญส านึกหรือประสาทสัมผัส
    ผู้เรียนแบบที่ 4 (If) ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรมไปสู่การลงมือ
    ปฏิบัติ
  2. การจัดการเรียนรู้แบบกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping Teaching)
    เป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนน ามโนทัศน์ในเนื้อหาสาระที่ได้เรียนรู้มาจัดระบบ จัดล าดับ และ
    เชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละมโนทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน ท าให้เกิดเป็นกรอบมโนทัศน์ขึ้น
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี (Knowledge Vee diagramming)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เขียนแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี หลักการ
    มโนทัศน์ กับวิธีการ การทดลอง หรือการจัดกระท าข้อมูล ข้อความรู้ที่เกิดจากการกระบวนการสืบเสาะ
    เป็ นแผนผังรูปตัววี (Vee diagram) จะท าให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวิธีการศึกษาธรรมชาติของความรู้ ซึ่ง
    ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้และขอบเขตของความรู้และผลผลิตของความรู้
  4. การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี (Wannee Teaching Model)
    เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เสนอไว้ดังนี้
  1. เป็นรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยกระบวนการสอน 8 ขั้นตอน สัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน
    อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ แต่ผู้สอนก็สามารถจะยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ ขั้นตอนเหล่านี้เข้าใจ
    ง่ายไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก และสามารถวิธีสอนหรือกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสื่อการ
    เรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบก็ยังหาง่ายอีกด้วย
  2. ในรูปแบบการสอนมีขั้นน าและขั้นทบทวนแยกออกจากกัน เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ขั้นสอน
    สามารถด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และยังมีขั้นสร้างเจตคติอีกต่างหาก เพื่อช่วยโน้มน้าว
    จิตใจให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาและมองเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์และรักคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
  3. ทุกขั้นตอนในรูปแบบการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและมีอิสระในการคิด การแสดงออกและ
    การปฏิบัติ เพื่อสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถน าไปใช้ ในการแก้ปัญหาต่างๆ และสร้างองค์
    ความรู้ใหม่ รวมทั้งให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มที่
  4. ช่วยเพิ่มบรรยากาศสุนทรีย์ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีชีวิตชีวา น่าสนใจ และสนุกสนาน
    ซึ่งท าให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะถือว่าความน่าเบื่อหน่ายและความ
    เคร่งเครียดนั้นเป็นอุปสรรคที่ส าคัญต่อการเรียนรู้
  5. เน้นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกๆ ด้านในลักษณะขององค์รวม ผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการน า
    รูปแบบการสอนไปใช้จึงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างน่าพอใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการ
    เรียน ความคงทนในการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพบจากผลการวิจัยแบบสังเคราะห์
    ผลงานวิจัยหลายครั้งว่า ได้ผลสูงกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ ที่ผู้สอนทั่วไปใช้กันอยู่ภายในประเทศ
  6. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ทุกด้านในลักษณะผสมผสานหรือบูรณาการเป็นหลัก
  7. การจัดการเรียนรู้แบบพยากรณ์ (Forecast or Prediction Method)
    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและมีเหตุมีผล โดยอาศัยข้อมูลใน
    อดีต ปัจจุบัน และคาดคะเนเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อช่วยให้มองเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใน
    อนาคต ซึ่งจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจที่จะเลือกกระท าหรือหลีกเลี่ยงการกระท า เพราะการค านึงถึง
    ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้แบบพยากรณ์จึงเป็นการทักษะการพยากรณ์
    มากกว่าความรู้
  8. การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom)
    หมายถึง การเปลี่ยนบทบาทการเรียน การสอนจากที่เรียนเนื้อหาในห้องเรียน เป็นการเรียนเนื้อหา
    ที่บ้าน และจากที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง เน้นการบรรยายเป็นหลัก มาเป็นการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่

25 ไม่เน้นเนื้อหาที่มาก ครูทำหน้าที่เป็น โค้ช คอยแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ตั้งคำถามเพื่อให้เด็กคิด เน้นการ
พัฒนาทักษะและการลงมือปฏิบัติ และมีความรับผิดชอบ

ที่มา : สุวิทย์ มูลค า และ อรทัย มูลค า. (2003). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลค า. (2003). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนคุณธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง.
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button