ดาวน์โหลดสื่อสื่อการสอนฟรี

แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)

แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)

แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)
แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)

แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)

แจกไฟล์ฟรี สื่อการสอนภาษาไทย บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word) สวัสดีครับวันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ขอแนะนำสื่อการสอนวิชา ภาษาไทย ดีๆกันอีกเช่นเคย คือ บัญชีคำพื้นฐาน ป.1-ป.6 (ไฟล์ word)

บัญชีคำพื้นฐาน ที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยฉบับนี้  เป็นผลจากการศึกษาคำพูดของนักเรียนระดับประถมศึกษา  ซึ่งมีวิธีการศึกษา และรายละเอียดต่างๆ  ดังต่อไปนี้

วิธีดำเนินการศึกษา

            ๑.  กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  มี  ๒  กลุ่ม  คือ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรวบรวมคำพูดและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการอ่านและเขียน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรวบรวมคำพูด  ประกอบด้วย  นักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบสุ่มหลายระยะ  (Multi – Stage  Sampling)  การสุ่มตัวอย่างจังหวัดและอำเภอ  ใช้วิธีจับฉลากโดยสุ่มจังหวัดจากเขตการศึกษา  และสุ่มอำเภอจังหวัดและอำเภอ  ได้จังหวัดจำนวน  ๓๖  จังหวัด และกรุงเทพมหานครจำนวนอำเภอ  ๓๖  อำเภอ  และ  3  เขต  ต่อจากนั้นสุ่มโรงเรียนในอำเภอหรือเขตที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  อำเภอหรือเขตละ  3  โรงเรียน  คือ  โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอหรือเขต  โรงเรียนที่อยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอหรือเขตไม่เกิน  ๘  กิโลเมตร  และโรงเรียนที่อยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอหรือเขตมากกว่า  ๑๒  กิโลเมตรขึ้นไป

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการอ่านและเขียน เป็นนักเรียนที่เลือกจากห้องเรียนที่สุ่มโดยวิธีเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรวบรวมคำพูด  จากจังหวัดต่างๆ  เกือบทุกเขตการศึกษา  ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น  ๙๐๐  คน 

            ๒.  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  มี  ๒  ประเภท  คือ  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมคำพูดของนักเรียนประกอบด้วย  แบบสัมภาษณ์  ซึ่งใช้สัมภาษณ์ในสถานการณ์ควบคุมและสถานการณ์อิสระ  เครื่องบันทึกเสียงและแถบบันทึกเสียง  เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการอ่านและการเขียน  เป็นแบบทดสอบการอ่านและการเขียนคำ  สำหรับนักเรียนกลุ่มอายุ  ๖  ปี / ป.๑    ๗ ปี/ ป.๒      ๘ ปี / ป. ๓    ซึ่งจากบัญชีคำที่หลอมรวมจากบัญชีคำพูดของนักเรียนภาคกลาง  ภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้  จำนวนคำที่นำมาทดสอบในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  ครั้งที่  ๑  จำนวน  ๘๙๗  คำ  ครั้งที่  ๒ จำนวน  ๑,๑๔๗  คำ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  ครั้งที่  ๑  จำนวน  ๑,๖๘๕  คำ  ครั้งที่  ๒  จำนวน  ๑,๑๔๗  คำ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  ครั้งที่  ๑  จำนวน  ๒,๔๒๖  คำ  ครั้งที่  ๒  จำนวน  ๒,๗๐๒  คำ  ข้อทดสอบทุกฉบับของทุกชั้นจะใช้สอบครบทุกจังหวัด  และข้อทดสอบแต่ละฉบับจะมีนักเรียนสอบประมาณ  ๑๐๐ – ๑๕๐  คน

๓.  การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการดังนี้
                        ๓.๑  ประชุมบุคลากรที่รับผิดชอบในการรวบรวมคำพูดของนักเรียนกลุ่มอายุต่างๆ  เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและวิธีปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

                        ๓.๒  เก็บข้อมูลในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง  ๒  ครั้ง  คือ  ครั้งที่  ๑  ระหว่างเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๒๙  และครั้งที่  ๒  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๐  โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นและบันทึกเสียงของนักเรียนลงในแถบบันทึกเสียง

                        ๓.๓ ทดสอบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปทดสอบนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  ๒  ครั้ง  คือ  ครั้งที่  ๑  ระหว่างวันที่  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๐  – ๑๕  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๓๑  และครั้งที่  ๒  ระหว่างวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  – ๑๕  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๓๑

           ๔.  การวิเคราะห์ข้อมูล
                        ๔.๑  การวิเคราะห์คำพูดของนักเรียน  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละครั้งได้แล้วผู้สัมภาษณ์จะถอดคำพูดของนักเรียนทุกคำจากแถบบันทึกเสียงเป็นลายลักษณ์อักษร  และนำคำพูดเหล่านี้มาแจกแจงความถี่แยกเป็นรายเขตการศึกษา  แล้วรวมเป็นภาคภูมิศาสตร์ได้แก่  ภาคกลาง  ภาคเหนือ  ภาคใต้  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  การแจกแจงคำพุดของนักเรียน  แจกแจงทุกคำ  ยกเว้นคำที่เป็นชื่อเฉพาะ  คำหยาบ  จำนวนนับ  และคำในเนื้อเพลงที่นักเรียนร้อง  จากนั้นนำคำเหล่านั้นมาวิเคราะห์ตามชนิดของการสร้างคำเป็นคำเดี่ยว  คำประสม  คำซ้อน  คำซ้ำ  และคำผสาน  และวิเคราะห์คำตามหน้าที่ของคำเป็นคำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  คำขยาย  คำเชื่อม  และคำลงท้าย  คำที่เป็นภาษาถิ่นแยกออกมาไว้อีกบัญชีหนึ่ง  และแยกตามกลุ่มภาษาที่ใช้ในภาคต่างๆ  คือกลุ่มภาษาถิ่นภาคเหนือกลุ่มภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และกลุ่มภาษาถิ่นภาคใต้  คำภาษาถิ่นนี้  ให้ครูผู้สัมภาษณ์เป็นผู้แปลความหมายของคำให้  โดยเลือกความหมายที่เด่นและใช้เสมอ  ต่อจากนั้นมีการตรวจสอบความหมายของคำกับผู้บอกภาษา  แล้วจัดทำบัญชีคำเรียงตามพจนานุกรม

                        ๔.๒  การวิเคราะห์ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน  เขียนคำ  เพื่อดูความยากง่ายของคำ  นำไปเป็นพื้นฐานในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้  พิจารณาค่าความยากโดยใช้สูตรดังนี้

                        ค่าความยาก  (P)  =  

คำใดมีค่าความยาก  (P)  สูง  หมายความว่าเป็นคำง่ายควรเรียนก่อน  และคำใดที่มีค่าความยาก  (P) ต่ำ  หมายความว่าเป็นคำยาก  ควรเรียนภายหลังหรือเรียนในชั้นที่สูงขึ้น

๔.๓  การกำหนดบัญชีคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนแต่ละชั้นมีวิธีการดังนี้

                                    ๔.๓.๑  การกำหนบัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็ก  นำคำที่มีความถี่  ๑๐๐  ขึ้นไปจนถึงคำที่มีความถี่สูงสุด  มาพิจารณาคัดเลือกคำให้นักเรียนเรียนในลักษณะคำคุ้นตา  (Sight  Words)  เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกมี  ๓  ลักษณะ  คือ  คำที่เป็นรูปธรรมสามารถแสดงเป็นภาพได้  คำที่แสดงกิริยาอาการให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างเด่นชัด  และคำที่นักเรียนใช้บ่อยแต่ไม่สามารถแสดงเป็นภาพหรือกิริยาอาการได้

                                    ๔.๓.๒  การกำหนดบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  นำบัญชีคำที่ไปทดสอบค่าความยาด  (P)  มาแล้ว  และได้คำที่มีค่าความยากในระดับต่างๆ  นำมาพิจารณาจัดคำตามเกณฑ์โครงสร้างของคำทางภาษาศาสตร์  โดยใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้

            คำเดี่ยวง่าย  โครงสร้างของคำประกอบด้วย

                        (๑)  พสส + ว  =  พยัญชนะต้น  + สระเสียงยาว + วรรณยุกต์

                        (๒)  พสสพ + ว    =  พยัญชนะต้น + สระเสียงยาว + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

                        (๓)  พส + ว   =   พยัญชนะต้น + สระเสียงสั้น + วรรณยุกต์

                        (๔)  พสพ + ว   =  พยัญชนะต้น + สระเสียงสั้น + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์ (เริ่มจากสระมีรูปไปจนถึงสระลดรูป)

                        (๕)  พพสส + ว   =  พยัญชนะต้นควบกล้ำ + สระเสียงยาว + วรรณยุกต์

                        นอกจากโครงสร้างของคำใน  (๑) + (๕)  แล้ว  ให้พิจารณาคำผสานซึ่งมีโครงสร้างเช่นเดียวกันด้วย

            คำเดี่ยวยาก  โครงสร้างของคำประกอบด้วย

                        (๑)  พพสสพ + ว   =  พยัญชนะต้นควบกล้ำ + สระเสียงยาว + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

                        (๒)  พพสพ + ว   =   พยัญชนะต้นควบกล้ำ + สระเสียงสั้น + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์ (เริ่มจากสระมีรูปไปจนถึงสระลดรูป

                        (๓) พ (พ)  สสพพ + ว   =   พยัญชนะต้น หรือพยัญชนะต้นควบกล้ำ  + สระเสียงยาว + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

                        (๔)  พ (พ)  สพพพ + ว = พยัญชนะต้น หรือพยัญชนะต้นควบกล้ำ + สระเสียงสั้น + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

                        (๕)  พ (พ) สพพพ + ว  = พยัญชนะต้น หรือ พยัญชนะต้นควบกล้ำ + สระเสียงยาว + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

                        (๖) พ (พ) สสพพ + ว = พยัญชนะต้น หรือ พยัญชนะควบกล้ำ + สระเสียงยาว + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + พยัญชนะสะกด + วรรณยุกต์

            นอกจากโครงสร้างของคำในข้อ  (๑) – (๖)  แล้ว  ให้พิจารณาคำผสาน  ซึ่งมีโครงสร้างเช่นเดียวกันด้วย

            คำประสมง่าย  โครงสร้างของคำประกอบด้วย  การนำคำเดี่ยวง่ายมาประสมกันตั้งแต่  ๒  คำขึ้นไป  ทำให้เกิดความหมายใหม่

            คำประสมยาก  โครงสร้างของคำประกอบด้วยการนำคำเดี่ยวยากมาประสมกันหรือนำคำเดี่ยวง่ายและคำเดี่ยวยากมาประสมกันตั้งแต่  ๒  คำขึ้นไป  ทำให้เกิดความหมายใหม่

            เมื่อจัดคำตามเกณฑ์โครงสร้างทางภาษาศาสตร์แล้วจัดบัญชีคำตามลำดับขั้นการเรียนรู้โดยกำหนดให้ใช้คำเดี่ยวง่ายทั้งหมด  กำหนดเป็นบัญชีคำที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑

                        ๔.๓.๓  การกำหนดบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  นำบัญชีคำที่ไปทดสอบค่าความยาก  (P)  มาแล้ว  และได้คำที่มีค่าความยากในระดับต่างๆ  มาพิจารณาจัดทำตามเกณฑ์โครงสร้างของคำทางภาษาศาสตร์  โดยใช้เกณฑ์เช่นเดียวกับข้อ  ๔.๓.๒  แล้วจัดบัญชีคำตามลำดับขั้นการเรียนรู้  โดยกำหนดให้ใช้คำเดี่ยวง่าย  คำเดี่ยวยาก  และคำประสมง่ายในบัญชีคำชั้นนี้  รวมทั้งคำเดี่ยวยาก  และคำประสมยาก  จากบัญชีคำในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  ที่ได้จัดไว้ตามข้อ  ๔.๓.๒  เป็นบัญชีคำพื้นฐานประถมศึกษาปีที่ ๒

                        ๔.๓.๔  การกำหนดบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  นำบัญชีคำที่ไปทดสอบค่าความยาก  (P)  มาแล้ว และได้คำที่มีค่าความยากในระดับต่างๆ  มาพิจารณาจัดคำตามเกณฑ์โครงสร้างของคำทางภาษาศาสตร์เช่นเดียวกับข้อ  ๔.๓.๒  แล้วจัดบัญชีคำตามลำดับขั้นการเรียนรู้โดยกำหนดให้ใช้คำเดี่ยวง่าย  คำประสมง่าย  คำเดี่ยวยาก  และคำประสมยาดในบัญชีคำชั้นนี้รวมทั้งคำประสมยากจากบัญชีคำในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  และ  ๒  (ในข้อ  ๔.๓.๒  และ  ๔.๓.๔ )  เป็นบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓

รายละเอียดของบัญชีคำแต่ละชั้น

            ๑.  บัญชีคำชั้นเด็กเล็ก  มีจำนวน  ๒๔๒  คำ  จำแนกเป็นคำนาม  จำนวน  ๑๗๕  คำ  จัดประเภทของคำได้  ๑๒  หมวด  คือ  หมวดที่เกี่ยวกับตำแหน่ง + อาชีพ  มี  ๑๕  คำ  เครือญาติ  มี  ๑๔  คำ  อวัยวะ  มี  ๒๒  คำ  เครื่องแต่งกาย – เครื่องนอน   มี  ๑๑  คำ  ดอกไม้มี  ๔  คำ  ผลไม้มี  ๑๘  คำ และสถานที่ มี ๑๒  คำ  คำกริยา  คำเชื่อม  และคำอื่นๆ  สิ่งของ  มี  ๒๗  คำ  พาหนะ  มี  ๔  คำ  และสถานที่  มี  ๑๒  คำ  คำกริยา  คำเชื่อม  และคำอื่นๆ  อีก  ๖๑  คำ

            ๒.  บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  มีจำนวนทั้งสิ้น  ๗๐๘  คำ  มีลักษณะเป็นคำเดี่ยวง่ายทั้งหมด

๓. บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  มีจำนวนทั้งสิ้น  ๑,๐๙๘  คำ  เป็นคำเดี่ยวง่าย  จำนวน  ๓๕๗  คำ  คำประสมง่าย  จำนวน  ๔๑๕  คำ  และคำเดี่ยวยากจำนวน  ๓๒๗  คำ

 ๔.  บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  มีจำนวนทั้งสิ้น  ๑,๒๑๐  คำ  เป็นคำเดี่ยวง่าย  จำนวน ๓๔๐  คำ  คำประสมง่าย  จำนวน  ๒๘๘  คำ  คำเดี่ยวยากจำนวน  ๑๖๘  คำ  และคำประสมยาก  จำนวน  ๔๑๔  คำ

ประโยชน์ของบัญชีคำพื้นฐาน

            ๑.  ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย  ในแง่ของการกำหนดเนื้อหา  คือการกำหนดคำที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยแต่ละระดับชั้น

            ๒.  ใช้ในการพัฒนาหนังสือเรียน  แบบฝึกหัด  และหนังสือเสริมประสบการณ์ต่างๆ  โดยการนำคำไปใช้แต่งหนังสือและฝึกฝนทักษะ

            ๓.  ใช้ในการจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยที่จำเป็น  เช่น  บัตรคำแผนภูมิเสริมประสบการณ์ การสร้างเรื่องราวในการแสดงหุ่น  การเล่นเลียนแบบ  บทบาทสมมุติ  ฯลฯ

ข้อเสนอแนะในการนำบัญชีคำพื้นฐานไปใช้

๑.  บัญชรคำพื้นฐานในชั้นเด็กเล็ก  หรือบัญชีคำคุ้นตา  ซึ่งมีจำนวนคำทั้งสิ้น  ๒๔๒  คำ  นั้น เ เป็นคำที่เด็กเล็กใช้พูดในชีวิตประจำวันที่มีความถี่สูง  การนำคำคุ้นตาไปสอนอ่านควรคัดเลือกคำที่ใช้บ่อยในท้องถิ่น  และในสถานการณ์ต่างๆ  การกำหนดจำนวนคำไม่ควรมากเกินไป  ควรอยู่ระหว่าง  ๑๐๐ – ๑๕๐  คำ  สำหรับการสอนอ่านคำคุ้นตานี้  ไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนอ่านแบบแจกลูกและสะกดคำหรือผัน  ให้อ่านเป็นคำและเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ

            ๒.  บัญชีคำพื้นฐานในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑ -๓  ซึ่งมีจำนวนคำทั้งสิ้น  ๓,๐๑๖  คำ  เป็นคำที่ทดสอบความยากง่ายในการอ่านและการเขียนมาแล้ว  โดยคัดเลือกจากจำนวนคำของบัญชีคำแต่ละชั้นซึ่งนักเรียนใช้พูดในชีวิตประจำวันที่มีความถี่สูง  ดังนั้นคำเหล่านี้จึงเป็นคำที่ควรเรียนในชั้นต่างๆ  ตามที่กำหนด  แต่การพิจารณานำคำไปใช้ในแต่ละชั้นควรพิจารณาคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง  โดยพิจารณาคำที่จำเป็นต้องใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ  และตามสถานการณ์ต่างๆ  รวมทั้งพิจารณากำหนดจำนวนคำให้เหมาะสม

            ๓.  คำที่กำหนดใช้ในบัญชีคำพื้นฐานแต่ละชั้นไม่ควรถือเป็นหลักตายตัวมากนักควรปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม  คำในบัญชีคำชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓  อาจปรับมาใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  ได้  ทั้งนี้ควรพิจารณาค่าความยากของการอ่านและการเขียนด้วยเพื่อให้การใช้คำเหมาะสมกับวัยและตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของนักเรียน  สำหรับคำบางคำที่ยากมาก  แต่มีความจำเป็นต้องใช้ในระดับชั้นนั้นๆ  ก็อาจนำมาใช้ได้  แต่ควรจะได้ชี้แจงให้ผู้สอนทราบว่าเป็นคำที่ยากสำหรับชั้นนั้นๆ  พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีสอนไว้เป็นพิเศษด้วย

            ๔.  เขตการศึกษาแต่ละเขตหรือจังหวัดต่างๆ  ควรนำคำบัญชีคำพื้นฐานในระดับชั้นต่างๆ  ไปทดสอบค่าความยากของการอ่านและเขียน เพื่อจัดทำบัญชีคำอ่านและคำเขียน  ในเขตการศึกษาหรือจังหวัดของตน  และนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

6

            ๕.  การนำคำจากบัญชีคำพื้นฐานเหล่านี้ไปใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ  นอกจากจะใช้คำจากบัญชีคำพื้นฐานแล้ว  ควรพิจารณานำคำที่ใช้เฉพาะกลุ่มประสบการณ์นั้นๆ  มาใช้ประกอบด้วย

——————————-

สามารถดาวน์โหลดบัญชีคำพื้นฐานได้ ตามลิงค์ข้างล่างนี้

บัญชีคำพื้นฐาน ชั้น ป.๑-๖ ไฟล์ word

บัญชีคำพื้นฐาน ชั้น ป.๑-๖ ไฟล์ PDF

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button