แจกไฟล์เวิร์ด โครงงานคุณธรรม 35 เรื่อง จากโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล
แจกไฟล์เวิร์ด โครงงานคุณธรรม 35 เรื่อง จากโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล
สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราขอแนะนำ แจกไฟล์เวิร์ด โครงงานคุณธรรม 35 เรื่อง จากโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล
เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดาวน์โหลดไฟล์ แจกไฟล์เวิร์ด โครงงานคุณธรรม 35 เรื่อง จากโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ
ขอบคุณที่มา :: https://krudiary.com/?p=3036
เพื่อความเข้าใจในหลักการของโครงงานคุณธรรมขั้นเบื้องต้น จึงขอเขียนบทความแบบง่าย ๆ เพื่อให้คุณครู พระสอนศีลธรรม รวมทั้งน้อง ๆ นักเรียนที่กำลังทำโครงงานคุณธรรมหรือกำลังจะเริ่มทำ ได้เข้าใจเบื้องต้น และนำไปศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมครับ
“โครงงานคุณธรรม” หรือที่คุณครู นักเรียนทำงานด้านคุณธรรมมักเรียกอีกอย่างว่า “โครงงานความดี” ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ครู หรือพระสอนศีลธรรม ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกันทำความดี โดยนักเรียนเลือกประเด็นปัญหาที่มีความสนใจร่วมกันเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านศีลธรรมคุณธรรมที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น ในโรงเรียน ชุมชน เป็นต้น แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันผ่านการทำโครงงาน ด้วยกระบวนการทางปัญญาหรือหลักอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงงานคุณธรรม 6 ขั้นตอน คือ
1.การตระหนักรู้ในปัญหา 2.การรวบรวมข้อมูล 3.การจัดทำร่างโครงงานคุณธรรม 4. การดำเนินการโครงงานคุณธรรม
5.การสรุปประเมินผลและเขียนรายงาน และ 6. การนำเสนอโครงงานคุณธรรม
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานคุณธรรม เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาสติ สมาธิ และปัญญา หรือพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างเป็นองค์รวมได้ ทั้งด้านพฤติกรรมด้านศีล คุณธรรม และปัญญาได้อย่างมีผลดีต่อนักเรียน เพราะว่านักเรียนที่ทำโครงงานคุณธรรมจะต้องใช้ทักษะ และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่าง ทำให้สมองทำงานทุก ๆ ส่วน เริ่มตั้งแต่การมองเห็นปัญหา การทำให้ปัญหาต่าง ๆ สัมผัสได้มีความหมายต่อนักเรียน ต่อมาสมองก็ต้องค้นหาวิธีการที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติจริง และเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จแล้วก็จะเกิดความรู้สึกที่ดี อารมณ์ทางบวกติดอยู่กับงานนั้น ๆ ยิ่งการทำงานโครงงานคุณธรรมเป็นกลุ่ม การทำงานแบบร่วมมือร่วมพลัง (Collaborative Learning) ร่วมคิดร่วมทำ ก็จะยิ่งทำให้นักเรียนพัฒนาความรู้ไปถึงขั้นสูงสุด ซึ่งเรียกว่าเป็นความรู้แบบขยายประโยชน์สู่สังคม ทำให้สังคมเป็นสุขและเป็นหนึ่งเดียวกัน
ปัญหาในการทำโครงงานคุณธรรมของนักเรียน บางทีครู “เผลอสติ” “ขันติธรรมน้อย” คิดแสดงบทบาทมากเกินไป เริ่มตั้งแต่ครูเป็นคนตัดสินใจว่าจะให้นักเรียนทำเรื่องอะไร ออกแบบว่าจะทำอย่างไร เลยไปถึงจะแสดงผลงานอย่างไร นักเรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ลงมือทำความดีจริง แต่ทำภายใต้การบอก การสั่งการของครู ทำให้โครงงานคุณธรรมในลักษณะนี้เป็น “ผลงานแบบฝีมือครู ลายมือนักเรียน” แต่การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานคุณธรรมที่ถูกต้องหรือพึงประสงค์นั้นจะต้อง “เป็นผลงานแบบฝีมือนักเรียน ลายมือนักเรียน” ดังนั้น ในการทำโครงงานคุณธรรมที่จะได้ผลงานของนักเรียนอย่างแท้จริง ครูจำเป็นต้องถอยห่างออกมาจากบทบาทของการสอนโดยตรง มาเป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้ชี้แนะ (Coach) หรือผู้เอื้ออำนวยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ (Facilitator) ครูต้องเป็นนักตั้งคำถาม ถามคำถามนำเก่ง ๆ ให้ผู้เรียนอธิบายมาก ๆ ซึ่งเป็นการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง
การทำโครงงานคุณธรรมนอกจากจะเน้นผลด้านการพัฒนาสมองแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในวัยรุ่นที่มีพลังมากต้องแสดงออกอยู่เสมอ การทำโครงงานคุณธรรมจึงเป็นวิธีการใช้พลังงานของวัยรุ่นไปในทางที่ดี เกิดการเรียนรู้ที่ดี เมื่อพลังส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในงานแล้ว เยาวชนวัยรุ่นก็จะเหลือพลังอยู่น้อย โอกาสที่จะใช้พลังไปในทางที่ไม่ควรก็ต้องมีน้อยลง การสอนโดยเข้าชั้นเรียนธรรมดา ฟังครูบรรยาย ทำแบบฝึกหัด เตรียมสอบ สอบได้แล้วจบเลย จะทำให้ผู้เรียนมีพลังเหลือใช้อยู่มาก นอกจากนี้ Stephen R. Covey ยังเสนอว่า “…เกรดที่นักเรียนได้ในการเรียนรู้นั้นไม่มีความหมายใด ๆ เลย สิ่งที่มีความหมายที่สุดที่จะบอกฝีมือผู้เรียนได้อย่างดีก็คือ ในระหว่างเรียนนั้นผู้เรียนได้ลงมือทำลงมือปฏิบัติลงมือแสดงอะไรบ้าง ผลงานเหล่านี้จึงจะเป็นตัวชี้สำคัญ ว่าผู้เรียนประสบสำเร็จเพียงใด และมีความพร้อมต่องานในอนาคต ในตลาดแรงงาน ในความสามารถการแข่งขันของประเทศเพียงใด”
การทำโครงงานคุณธรรมจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้คงทนที่สุด เพราะผู้เรียนต้องคิดเอง ทำเอง ตัดสินใจเอง เลือกเอง พัฒนาเอง ได้เป็น “ผลงานแบบฝีมือนักเรียน ลายมือนักเรียน” อย่างแท้จริง ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ทำก่อให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม พอเพียง วินัย ซื่อสัตย์ จิตอาสา…. เป็นต้น ตลอดทั้งทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และส่งผลกระทบที่ดีงามต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ที่มา :: https://www.starfishlabz.com/