Site icon สื่อการสอนฟรี.com

แจกไฟล์ word แก้ไขได้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเวิน พระบาท ปรับปรุงพุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แจกไฟล์ word แก้ไขได้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเวิน พระบาท ปรับปรุงพุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แจกไฟล์ word แก้ไขได้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเวิน พระบาท ปรับปรุงพุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

วันนี้เว็บไซต์ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ได้นำตัวอย่าง หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเวิน พระบาท ปรับปรุงพุทธศักราช 2563 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาให้โรงเรียนที่สนใจได้นำไปเป็นตัวอย่างเพื่อปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนกันครับ

ความหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

             สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านหลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่นๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
             หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข

ความสำคัญและความจำเป็นของหลักสูตรสถานศึกษา

             สถานศึกษาจำเป็นต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางที่กรมวิชาการกำหนดไว้ พระราชบัญญัติสถานศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
             มาตรา 27 ระบุข้อความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา ในการนำหลักสูตรไปใช้โดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแนวทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
             จะเห็นว่าในวรรคที่สอง เป็นการกำหนดแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาจัดทำสาระของหลักสูตร จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งทำหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน(  มนนิภา ชุติบุตร. 2538 : หน้า 16 – 18) ได้เสนอแนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดังนี้
             1. เน้นการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจวิธีคิดและความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
             2. นำกระบวนการหรือแนวคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
             3. นำกระบวนการคิดของภูมิปัญญาชาวบ้านมาเสริมสร้างให้สอดคล้องกับแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
             4. สร้างกระบวนการคิดหลายด้าน หลายมุมโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระแล้วเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
             5. ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
             ตามหลักการของหลักสูตรนั้น หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และสนองความต้องการของสังคมที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ โดยเหตุนี้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมุ่งหมายในการใช้ในชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะ ก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้มากที่สุด ท้องถิ่นและชุมชนมีสภาพที่แตกต่างกัน การพัฒนาแต่ละท้องถิ่นก็ต้องมีความแตกต่างกัน  เทคโนโลยีเจริญเร็ว จะทำหลักสูตรระดับชาติไปใช้กับท้องถิ่นก็ไม่ทันกับความเจริญของเทคโนโลยี สถานศึกษาจึงต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเอง

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา

             1. หลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการเรียนที่สำคัญๆ มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล มีโอกาสใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น สร้างความมั่นใจและให้กำลังใจในการเรียนรู้และเป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
             2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อบุคคลและสังคมสถานศึกษาควรต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน มีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระเข้าใจในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวม สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้ความเป็นธรรม มีความเสมอภาค มีความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับที่ตนดำรงอยู่ได้ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระบบส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก

ดาวน์โหลดที่นี่

ขอขอบคุณ https://www.gotoknow.org/posts/372468

Exit mobile version