ดาวน์โหลดสื่อ

แบ่งปันไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้ โดยเพจ สื่อปันสุข By little teacher

แบ่งปันไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้ โดยเพจ สื่อปันสุข By little teacher

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ขอนำเสนอไฟล์ งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้ โดยเพจ สื่อปันสุข By little teacher ขอบคุณไฟล์เอกสารที่ได้รับความอนุเคราะห์จากครู ศุภวิชญ์ ไชยมงคล คุณครูโรงเรียนบ้านทุ่งกล้วย ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้นห้ามนำไปจำหน่าย

แบ่งปันไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้ โดยเพจ สื่อปันสุข By little teacher ขอบคุณไฟล์เอกสารที่ได้รับความอนุเคราะห์จากครู ศุภวิชญ์ ไชยมงคล คุณครูโรงเรียนบ้านทุ่งกล้วย ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้นห้ามนำไปจำหน่าย

ไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้
ไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์แบ่งปันไฟล์งานเอกสาร ว.PA แก้ไขได้ โดยเพจ สื่อปันสุข By little teacher ขอบคุณไฟล์เอกสารที่ได้รับความอนุเคราะห์จากครู ศุภวิชญ์ ไชยมงคล คุณครูโรงเรียนบ้านทุ่งกล้วย ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้นห้ามนำไปจำหน่าย จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

ขอบคุณที่มา ::: สื่อปันสุข By little teacher

ว PA คืออะไร

ความหมาย PA  ย่อมาจาก  Performance  Agreement   ,   Performance  แปลว่า ประสิทธิภาพ  Agreement  แปลว่า ข้อตกลง


วิทยฐานะแบบ ว.PA เกิดจาก “ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ Performance ของครู”และ ผลของการพัฒนาสมรรถนะ Competency ของผู้เรียน ที่จะทำให้เกิดผลการเรียนการสอนออกมาดีที่สุด ตรงตามตัวชี้วัดที่ตกลงกันไว้แล้ว ส่งผลกับวิทยฐานะของครู และผลของการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน


ประสิทธิภาพการสอนของครู   ประสิทธิภาพของครู วัดจากสมรรถนะหรือประสิทธิภาพของผู้เรียน ไม่ได้วัดที่ความพยายามหรือความมุ่งมั่นหรือแผ่นกระดาษรายงานนำเสนอ  เพราะการประเมินผลที่ดีที่สุดคือการประเมินผลเชิงประจักษ์ Authentic assessment และแบบวัดคลินิกทางวิชาการ (Clinical Test of Knowledge) เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงรูปแบบหนึ่ง โดยการวัดด้านความคิด (Thinking) ความรู้สึก(Feeling) การกระทำ(Acting) และผลการเรียนรู้(Learning outcomes) โดย วัดความสามารถ,ประสิทธิภาพ,หรือสมรรถนะที่ตัวผู้เรียนแต่ละคน จะไม่มีการประเมินแบบสับขาหลอกอีกต่อไป


องค์ประกอบสำคัญ ที่จะทำให้ ว PA เกิดขึ้นได้จริง คือ

1. หลักสูตร ต้องมีหลักสูตรฐานสมรรถนะ Competency Based Curriculum (CBC)ที่ถูกต้อง ประกอบด้วยหลักสูตรย่อย 3 หลักสูตร คือ

1.1. หลักสูตรแกนกลาง Core courses สำหรับใช้ร่วมกันทั้งประเทศ

1.2. หลักสูตรท้องถิ่น Local course สำหรับคนในท้องถิ่น และการพัฒนาเชิงพื้นที่

1.3. หลักสูตรวิชาเลือก Elective courses สำหรับผู้ต้องการเลือกอาชีพพิเศษ, หรือหลักสูตรวิชาการเข้มข้นพิเศษเพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หลักสูตรฐานสมรรถนะ จะไม่สามารถอยู่ในกรอบของเวลาได้ เนื่องจากธรรมชาติของคนเราการเรียนรู้ใช้เวลาไม่เท่ากันในการฝึกฝนตนเองทั้งด้านวิชาการ และทักษะ ดังนั้น ตารางสอน/ตารางเรียนจึงต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะสร้างสมรรถนะและปัญญาในตนเองได้


2.การบริหารจัดการ  โรงเรียนต้องเป็นฐานบริหารจัดการตนเองตาม พรบ.การศึกษา (School Based Management (SBM) ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.การบริหารงานวิชาการ 2.การบริหารงบประมาณ 3.การบริหารงานบุคคล 4.การบริหารงานทั่วไปโรงเรียนจะรู้ดีที่สุดในการบริหารการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนรู้ความต้องการของครู นักเรียนและชุมชน ครูคือผู้ที่รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้จักธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนดีที่สุด จึงสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมตามที่ผู้เรียนต้องการมากที่สุด  ถ้าสั่งการลงมาจากส่วนกลาง จะเป็นการทำลายอิสรภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนกลางต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจคุณครูและสถานศึกษา จึงเป็นทางรอดของการศึกษาไทย


3.วิธีการขอมีหรือเพิ่มวิทยฐานะแบบ ว PA

3.1. นำเสนองาน  ผู้ขอมีหรือเพิ่มวิทยฐานะ นำเสนอ ID Plan (Individual Development Plan) หรือแผนพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับสมรรถนะหรือประสิทธิภาพของผู้เรียน  ผ่านหัวหน้ากลุ่มสาระ ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา  เพื่อ 1. รับทราบ 2. อำนวยความสะดวก 3.สนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม  4. ให้คำปรึกษา ชี้แนะ แนะนำบางประการตามอำนาจหน้าที่


3.2. ทำแผนกลยุทธ์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้ขอนำเสนอ การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน Instruction Plan ที่แสดงให้เห็นวิธีดำเนินการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวัตถุประสงค์ มาตรฐาน  จุดเน้นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน และตัวชี้วัด เป็นตัวเลขร้อยละที่ชัดเจน ตามข้อตกลง (Agreement) ของคณะกรรมการประเมินวิทยฐานะ


3.3.ระหว่างการดำเนินกิจกรรม  ในระหว่างการดำเนินกิจกรรม ผู้ขอ ว PA ต้องเก็บเอกสาร  Clip VDO  รูปภาพ และหลักฐานการทำงาน เป็น Digital file ของตนเอง

ผอ.โรงเรียน เป็นประธานดำเนินการประเมินวิทยฐานะ ว PA

ศึกษานิเทศก์ ผู้ได้รับการแต่งตั้ง ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ทำหน้าที่ Coaching and Mentoring

หัวหน้ากลุ่มสาระ เป็นกรรมการการประเมิน ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็กไม่มีหัวหน้ากลุ่มสาระให้ใช้หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียนแทน


4.การวัดผลประเมินผล 

ลักษณะการประเมิน ให้วัดผลเชิงประจักษ์ที่ตัวผู้เรียน Authentic assessment of student เรียนไป วัดผลไป เก็บผลการวัด เพื่อการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา จนกว่าจะได้สมรรถนะในตัวผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ มาตรฐาน จุดเน้นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน และตัวชี้วัด เป็นตัวเลขร้อยละที่ชัดเจน “ตามข้อตกลง (Agreement)ของคณะกรรมการประเมินวิทยฐานะ


เกณฑ์การประเมิน  ผลการประเมินใช้เกณฑ์ “ผ่าน / ไม่ผ่าน” โดยถือเอาวัตถุประสงค์,มาตรฐาน, จุดเน้นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน,และตัวชี้วัด เป็นตัวเลขร้อยละที่ชัดเจน “ตามข้อตกลง (Agreement)ของคณะกรรมการประเมินวิทยฐานะ ที่เน้นการพัฒนาส่วนบุคคล


5.การรายงานผล ให้ผู้ผ่านเกณฑ์ประเมิน รายงานผ่านหัวหน้ากลุ่มสาระ ถึงผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อดำเนินการต่อไป และส่ง Digital file (DPA) ที่แผนกทะเบียนของสถานศึกษาเพื่อดำเนินการ และไว้อ้างอิง


การทำข้อตกลง ว PA กับผู้อำนวยการโรงเรียน

การทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียนมีแบบฟอร์ม ตามแบบจากหนังสือ ที่ ศธ.0206.3/ว.21.สำนักงาน ก.ค.ศ. ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564  โดยให้ครูผู้ขอ ว PA ระบุความรับผิดชอบห้องเรียนวิชาสามัญ,หรือห้องเรียนปฐมวัย,หรือห้องเรียนการศึกษาพิเศษ,หรือห้องเรียนสายวิชาชีพ,หรือห้องเรียนการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย


ข้อตกลง ว PA ของครู กับ ผอ.โรงเรียน

1. ครูทำข้อตกลงพัฒนา “สมรรถนะการเรียนรู้”ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในรายวิชาที่ตนเองสอน ระบุหัวข้อให้ชัดเจน เช่น ฝึกทักทักษะนักเรียนชั้น ม.2.ให้พูดภาษาไทยในระดับใช้งานการสื่อสารได้ ภายใน 2 ภาคเรียน ให้ทำข้อตกลงว่า..จะพัฒนา “สมรรถนะของผู้เรียน” ตามวัตถุประสงค์,มาตรฐาน,จุดเน้น, และตัวชี้วัดเป็นร้อยละเท่าใด ?


ขอเสนอ คะแนนมาตรฐานของนักเรียน,จุดเน้น, และตัวชี้วัด ดังนี้ คือ ตัวชี้วัด ตามการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ คะแนนประเมินรายบุคคล ตามเกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้เพื่อการวัดและประเมินผลตามตัวชี้วัด กำหนดดังนี้

ระดับคุณภาพ ระดับที่ 1 (Failed) ผลการเรียน 0.00  กลยุทธ์ Transmission ไม่ผ่าน

ระดับคุณภาพ ระดับที่ 2 (Passed) ผลการเรียน 1.00 กลยุทธ์ Transmission 50-59 = พอใช้/ผ่าน

ระดับคุณภาพ ระดับที่ 3 (Faired) ผลการเรียน 2.00กลยุทธ์ Transformational60-69 = ปานกลาง/ผ่าน

ระดับคุณภาพ ระดับที่ 4 (Good) ผลการเรียน 3.00 กลยุทธ์ Transformational, ตัวชี้วัด คะแนนประเมินรายบุคคล 70-79 = ดี/ผ่าน,

ระดับคุณภาพ ระดับที่ 5 (Excellence) ผลการเรียน 4.00 กลยุทธ์ Transformational, ตัวชี้วัด คะแนน-ประเมินรายบุคคล 90 -100 ดีมาก/ผ่าน คุณครูและผู้อำนวยการสามารถตกลงกันเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดได้ ตามความเหมาะสม..แต่เกณฑ์ผ่าน ไม่ควรต่ำกว่า ร้อยละ 50

สำหรับนักเรียนผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนต้องทำการ “เสริมศักยภาพ Scaffolding” โดยการฝึกทักษะด้วยวิธีต่างๆ เช่น สร้างกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน Peer learning, หรือทำงานกลุ่มที่มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน, การอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น Authentic assessment เพื่ออนุมัติ หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป..


2.ครูทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง เป็นเรื่องของชั่วโมงสอน ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนกี่รายวิชาก็กรอกลงไปในเอกสารข้อตกลง และระบุลงไปด้วยว่า ครูได้ทำการสนับสนุนสถานศึกษาและผู้เรียน คิดเป็นกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เช่น งานส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์  งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษากี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์  งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้นกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์


3. เอกสารประกอบการทำข้อตกลง ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นหัวใจของการ “พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่ครูจะไปทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียน

1.แผนพัฒนาตนเอง (Individual plan = ID plan เพื่อทำข้อตกลงขอมีวิทยฐานะ ว PA)

2.แผนการสอน (Instruction plan) เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนตามข้อตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียน


การขอมีวิทยฐานะ ว PA ของครูจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่คุณครูสามารถพัฒนา “สมรรถนะ”ของผู้เรียน ได้ผลการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลข ร้อยละต่อคะแนนเต็มร้อย ผ่านครบทุกคนหรือไม่  แต่ละคนได้คะแนนเท่าไร ซึ่งคณะกรรมการประเมิน สามารถประเมินตามสภาพจริง Authentic assessment เพื่อพิสูจน์ ที่ตัวนักเรียนแต่ละคนได้ทุกเมื่อ


ว PA จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ กคศ.ส่งมาสร้างความเครียดให้กับครูในยุคโรคโควิด – 19 หรือไม่ก็ต้องรอดู เท่าที่ผู้เขียนได้รับฟังความคิดเห็นจากครูแล้วครูหลายท่านอยากลาออกแล้ว

ที่มา::: https://www.kansuksa.com/306/

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button