ดาวน์โหลดไฟล์ กระดาษคำตอบ 40 ข้อ โดยเพจ สื่อครู.com
ดาวน์โหลดไฟล์ กระดาษคำตอบ 40 ข้อ โดยเพจ สื่อครู.com
สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา วันนี้ขอนำเสนอดาวน์โหลดไฟล์ กระดาษคำตอบ 40 ข้อ โดยเพจ สื่อครู.com
เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์กระดาษคำตอบ 40 ข้อ จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน นำไปใช้ในการสอบ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ และขอขอบคุณเพจ สื่อครู.com ที่แบ่งปันไฟล์ดีๆ สำหรับครู ครับ
การสอบ คือ เครื่องมือทางการวัดและประเมินผลอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการประเมินทักษะความรู้ของผู้เรียนในระบบการศึกษา ด้วยเพราะความที่ผลการสอบนั้นจะออกมาเป็นค่าคะแนน ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ผลหรือออกเกรดได้โดยไม่มีความคลาดเคลื่อนจากตัวแปรภายนอก เช่น อคติต่างๆ
การสอบนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 องค์ประกอบด้วยกัน นั้นคือ
1. ตัวบุคคลที่เป็นผู้ถูกวัดหรือถูกประเมินผล
2. ตัวข้อสอบที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
3. การดำเนินการสอบที่ควรสร้างให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และบรรยากาศเงียบสงบที่เอื้อต่อการใช้ความคิดของผู้สอบ
4.ผลการสอบที่แสดงผลความสามารถของผู้สอบออกมาเป็นค่าคะแนนเพื่อวัดผลได้
สำหรับรูปแบบของข้อสอบนั้น เราสามารถแบ่งประเภทของข้อสอบได้หลายลักษณะ แต่ถ้าแบ่งตามลักษณะของการทำข้อสอบแล้ว เราสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ข้อสอบแบบอัตนัย (subjective)
คือข้อสอบที่เน้นให้ผู้สอบ เขียนคำตอบตอบออกมาเป็นความเรียงโดยเสรีตามทักษะภาษาและความคิดเห็นของแต่ละคน ซึ่งในการออกข้อสอบแบบอัตนัยนั้น มีหลักการหรือเทคนิคในการดำเนินการดังนี้
1. เขียนคำถามและคำชี้แจงเกี่ยวกับการทำข้อสอบ เช่น ลักษณะการตอบคำถาม เวลาที่ใช้ และคะแนนของคำถามให้ชัดเจน
2. ควรใช้ข้อสอบแบบอัตนัยในการวัดเกี่ยวกับการอภิปรายข้อวิจารณ์หรือการแสดงความคิดเห็น ไม่ควรใช้วัดเรื่องของความรู้ความจำ
3. ในการออกข้อสอบอัตนัย ควรตั้งคำถามที่กระชับ รัดกุม ไม่คลุมเครือ
4. การออกข้อสอบอัตนัย ควรพุ่งประเด็นไปที่จุดสำคัญของเรื่องที่ต้องการวัดที่วางไว้ในการวิเคราะห์หลักสูตร
5. ไม่ควรออกข้อสอบให้มากข้อ ควรกำหนดจำนวนข้อสอบให้สัมพันธ์กับเวลา เพราะต้องเผื่อเวลาให้ผู้สอบวิเคราะห์และเขียนคำตอบ
6. ไม่ควรกำหนดข้อสอบให้มีหลายข้อแล้วให้ผู้สอบเลือกตอบเป็นบางข้อ เพราะแต่ละข้อนั้นมีความยากง่ายไม่เท่ากัน จะส่งผลให้การวัดไม่มีประสิทธิภาพ
7. ในตรวจข้อสอบ ผู้ตรวจต้องมีชุดคำตอบที่กำหนดไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับคำตอบของผู้สอบ
8. ผู้ตรวจต้องตรวจด้วยใจที่เป็นกลาง และควรมีคนตรวจมากกว่าหนึ่งคน เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
ข้อสอบแบบปรนัย (objective)
เป็นลักษณะของข้อสอบแบบถามตอบที่มีการกำหนดตัวเลือกคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้ว ผู้สอบมีหน้าที่ในการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งมีหลายลักษณะ ตามแนวทางในการทำข้อสอบ คือ
– แบบถูก-ผิด (true- false) คือลักษณะข้อสอบปรนัยที่มีแค่สองตัวเลือก โดยเน้นให้ผู้สอบพิจารณ์ข้อคำถามแล้วให้คำตอบว่า ถูกหรือผิด ใช่หรือไม่
– แบบเติมคำ (completion) คือลักษณะข้อสอบปรนัยที่เน้นให้ผู้สอบเขียนตอบสั้นๆ ในส่วนที่เว้นว่างไว้ในข้อสอบ
– แบบจับคู่(matching) คือลักษณะของข้อสอบปรนัยที่ให้เลือกคำตอบจากชุดคำตอบที่กำหนด ไปใส่ในข้อคำถามที่ถูกต้อง
– แบบเลือกตอบ (multiple choice) คือลักษณะของข้อสอบปรนัยที่มีคำถามและตัวเลือกคำตอบให้ 3-5 ข้อ แล้วให้ผู้สอบเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากตัวเลือกที่กำหนด
ซึ่งหลักการและเทคนิคในการออกข้อสอบแบบปรนัยนั้น สามารถสรุปโดยรวมคร่าวๆดังนี้
1. การออกข้อสอบปรนัยต้องระบุคำชี้แจงในการทำข้อสอบให้ชัดเจน ถึงวิธีการทำ เวลาที่ใช้ และคะแนนที่ได้ในแต่ละข้อ
2. ใช้คำถามที่สั้นกระชับไม่ใช้คำฟุ้มเฟือย ไม่คลุมเครือ
3. ควรมีตัวเลือกคำตอบหรือให้ตอบคำถามที่ถูกต้องตายตัวแน่นอน
4. ไม่ควรสร้างข้อสอบให้เกิดการแนะคำตอบ เช่น ข้อแรกถามว่าเมืองหลวงของประเทศไทยคือข้อใด และข้อถัดถามว่า กรุงเทพฯที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีกี่เขต เป็นต้น
5. ควรใช้ข้อสอบแบบปรนัยกับการวัดในเรื่องความรู้ความจำ
6. ควรออกข้อสอบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ได้สอนไปแล้ว ไม่ควรออกข้อสอบในเนื้อหานอกเหนือจากที่สอน
7. กำหนดจำนวนข้อสอบให้สัมพันธ์กับเวลาในการทำและความเข้มข้นของเนื้อหา เช่น วิชาคณิตศาสตร์อาจกำหนดข้อสอบไว้เพียง 20 ข้อต่อการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง ในขณะที่ วิชาสังคมศึกษาอาจกำหนดข้อสอบได้ถึง 60 ข้อต่อการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง เป็นต้น
ขอบคุณที่มา :: https://www.trueplookpanya.com/
ดาวน์โหลดไฟล์กระดาษคำตอบ
ขอบคุณที่มา :: เพจ สื่อครู.com