ดาวน์โหลดสื่อ

ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงการโรงเรียนสุจริต(โรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ 2564 ไฟล์wordแก้ไขได้

ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงการโรงเรียนสุจริต(โรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ 2564 ไฟล์wordแก้ไขได้

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม  ขอนำเสนอ ตัวอย่างโครงการโรงเรียนสุจริต(โรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ 2564 ไฟล์wordแก้ไขได้

ตัวอย่างไฟล์

ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงการโรงเรียนสุจริต(โรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ 2564 ไฟล์wordแก้ไขได้

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

https://docs.google.com/document/d/1IjNfMYMhGePVcniIeLhWfuCvax41bPZS/edit

โรงเรียนสุจริต

1. ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty and Integrity)

ความหมายความซื่อสัตย์สุจริต คือ การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง และมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นโดยชอบ ไม่คดโกง

การนำไปใช้

พูดความจริง

ไม่ลักขโมย

ทำตัวเป็นที่น่าเชื่อถือ ทำตามสัญญา

ตรงไปตรงมา

กล้าเปิดเผยความจริง

รู้จักแยกแยะประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวม

แนวคิด

การดำเนินชีวิตในสังคมนั้น ความซื่อสัตย์สุจริตเ

นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ไม่ว่าจะซื่อสัตย์ต่อตนเองหรือผู้อื่น ดังนั้น การที่เราจะมีความซื่อสัตย์สุจริตนั้น เราจะต้องปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถูกต้อง และให้เห็นโทษของการไม่ซื่อสัตย์สุจริตว่าจะส่งผลต่อตนเองและสังคมอย่างไรบ้าง

2 การมีจิตสาธารณะ (Greater Good)

ความหมาย

การมีจิตสาธารณะ คือ การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความตระหนักรู้และคำนึงถึงสังคมส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตัวเองในการกระทำใดๆเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อส่วนรวม และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

การนำไปใช้

ร่วมดูแลสังคม

รับผิดชอบส่วนรวม

เสียสละเพื่อส่วนรวม

เอื้อเฟื้อ เมตตา มีน้ำใจ

ไม่เห็นแก่ตัว

แนวคิด

การอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมหนึ่งนั้น ต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการที่สมาชิกในสังคมคิดและทำเพื่อส่วนรวม รู้จักการให้เพื่อสังคม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ และพร้อมที่จะเสียสละหรือช่วยปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

3 ความเป็นธรรมทางสังคม (Fairness and Justice)

ความหมาย

ความเป็นธรรมทางสังคม คือ การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และอย่างมีเหตุผล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อ เพศ เชื้อชาติ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม

การนำไปใช้

นึกถึงใจเขาใจเรา

ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

รับฟังผู้อื่น

เคารพให้เกียรติ์ผู้อื่น

กตัญูญูอย่างมีเหตุผล

คำนึงถึงความยุติธรรมโดยตลอด

แนวคิด

ทุกคนควรได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะแตกต่างกันด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ภูมิกำเนิด ฐานะ หรือการศึกษา รวมทั้งต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย ดังนั้นการให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การไม่เอาเปรียบผู้อื่น และการเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองจะช่วยให้รักษาความเป็นธรรมในสังคมได้มากขึ้น

4 กระทำอย่างรับผิดชอบ (Responsibility and Accountability)

ความหมาย

การกระทำอย่างรับผิดชอบ คือ การมีจิตสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตัวเองและปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เคารพกฎเกณฑ์กติกา พร้อมให้ตรวจสอบการกระทำได้เสมอ หากมีการกระทำผิดก็พร้อมที่จะยอมรับและแก้ไขในสิ่งที่ผิด

การนำไปใช้

ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

มีระเบียบวินัย

เคารพกติกา

รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ กล้ายอมรับผิดและรับการลงโทษ

รู้จักสำนึกผิดและขอโทษ แก้ไขในสิ่งผิด

กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง

แนวคิด

ในทุกสังคมประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลที่แตกต่างหลากหลายตามบทบาทและหน้าที่ต่างๆที่เหมือนกันบ้างและต่างกันบ้าง ตั้งแต่เป็นสมาชิกของครอบครัว สมาชิกของโรงเรียน สมาชิกของที่ทำงาน และสมาชิกของสังคม ดังนั้น การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดผู้อื่น และพร้อมยอมรับในการกระทำของตนเองนั้น สมาชิกทุกคนจะต้องเข้าใจความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเองและบุคคลต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆอย่างมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบได้ มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์กติกาอย่างมีวินัย

5 เป็นอยู่อย่างพอเพียง

ความหมาย

เป็นอยู่อย่างพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่ละโมภโลภมาก รู้จักยับยั้งชั่งใจ และต้องไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น

การนำไปใช้

รู้จักความเพียงพอ ความพอดี

มีความอดทนอดกลั้น

รู้จักบังคับตัวเอง

ไม่กลัวความยากลำบาก

ไม่ทำอะไรแบบสุดขั้วหรือสุดโต่ง

มีสติและเหตุผล

แนวคิด

การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ควรถือปฏิบัติ การรู้จักความพอดี พอประมาณในการใช้ชีวิต การรู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ การรู้ประหยัดและรู้คุณค่าสิ่งของเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างนิสัยที่เป็นอยู่อย่างพอเพียง จะไม่ทำให้เกิดการดิ้นรนแบบเห็นแก่ตัวและขาดสติ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและสังคมในภาพรวมด้วย

ท่ามกลาง “การสุจริต” การสอบครูผู้ช่วย ที่เป็นข่าวครึกโครม อยู่ในขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดตัวโครงการ”โรงเรียนสุจริต” ขึ้นเป็นปีแรก นำร่องจากทุกภาค225 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และคัดเลือก 12 โรงเรียนเป็นโรงเรียนต้นแบบ โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ทำหน้าที่แทนรมว.ศึกษาธิการ ปิดโครงการอบรม “โรงเรียนสุจริต”  เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี หลังจากได้นำนักเรียน ครู ผู้บริหารการศึกษา เข้าค่ายอบรมตั้งแต่วันที่5 – 8 มี.ค.ที่ผ่านมา

       นายสุวัฒน์  กล่าวว่า  เป็นการทดลองวิจัยป้องกันการทุจริต โดยการเน้น 5 ด้านในการเป็น “โรงเรียนสุจริต” ได้แก่ มีทักษะกระบวนการคิดมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตสาธารณะ พัฒนาโรงเรียนสู่สากล มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ไม่คอร์รัปชัน โดยฝึกอบรมผู้บริหาร ครู และนักเรียนที่คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนสุจริต นำร่องปลุกจิตสำนึกให้คิดถึงส่วนรวมและ โรงเรียนสุจริตจะเป็นโรงเรียนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย โดยจะผลักดันให้โรงเรียนสุจริตเป็นรูปธรรม เป็นที่รู้จัก ภายใน 5 ปี

       ทั้งนี้เป้าหมายโรงเรียนสุจริต คือ ปลุกจิตสำนึกให้กับทุกคน นอกจากโรงเรียนแล้วยังต้องขยายไปสู่สังคม อย่างการสอบสวน การทุจริตสอบครูผู้ช่วย ที่รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาให้ความสำคัญ จนพบความไม่ชอบมาพากล และเร่งหาขบวนการที่กระทำผิด และแนวโน้มจะมีการยกเลิกเร็วๆ นี้

       นายสุวัฒน์ ให้สัมภาษณ์ว่า โดยปกติแล้วกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายและบรรจุอยู่ในหลักสูตร และสาระต่างๆในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เรื่องการสร้างความสุจริตโปร่งใส เรื่องของกู๊ดกอฟเวอร์แนนซ์ และเรื่องป้องกันการทุจริตอยู่แล้ว แต่ว่าสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือเรื่องการทุจริต

       ทั้งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมก็ดี ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาท เกี่ยวกับการทุจริตที่เกิดขึ้นในสังคมว่าถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต่อไปแล้ว ไม่มีการแก้ไขและป้องกัน จะทำให้ประเทศชาติล่มจมได้

       ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ รับใส่เกล้าพระบรมราโชวาท จึงได้มาดำเนินการเรื่องการป้องกันการทุจริตและสร้างความสุจริตให้เกิดขึ้น ในจิตใจของนักเรียน ผู้บริหารครู และจะขยายขับเคลื่อนต่อไปในทุกโรงเรียน จนถึงประชาชน

       “ส่วนรูปธรรมนั้นเราได้ทำอยู่แล้ว ในทุกโรงเรียน แต่จะสร้างเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้คิดเป็นโครงการเรียกว่าโรงเรียนสุจริต เพื่อดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างปฏิญญา ที่ผู้ผ่านการอบรมรับไปนั้น มีว่า

       1.จะป้องกันการทุจริตในทุกรูปแบบ ทุกขั้นตอนที่ได้พบเห็นที่เกี่ยวข้อง

       2.จะขยายเครือข่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ต่อไป ทุกโรงเรียน นักเรียน ครู ผู้บริหารการศึกษาและประชาชนอย่างทั่วถึง

       3.การปลูกฝังความสุจริตให้กับประชาชนคนไทย ตลอดจนนักเรียน ครู ซึ่งเป็นต้นแบบ เพื่อขยายต่อไปทั่วทั้งประเทศเพราะว่าจะให้ลดน้อยลงไปและไม่ให้เกิดขึ้นก่อน ที่เราจะเปิดประตูสู่อาเซี่ยน ซึ่งต้องมีการแข่งขัน มีการสร้างความเชื่อถือศรัทธา” ผู้ช่วยรัฐมนตรี กล่าว สำหรับความคาดหวังว่าจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และติดตามประเมินผลอย่างไรนั้น

       นายสุวัฒน์ กล่าวว่า การเตรียมการและขั้นตอนกระบวนการต่างๆ นั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้เตรียมงานมาหลายเดือน กระบวนการทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการ ตั้งชื่อ ขั้นตอน การติดตามประเมินผล การแก้ไขปัญหา การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

       โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากเด็กๆ ที่เข้าค่ายการอบรม พบว่าเข้าใจและตอบรับโครงการโดยความพร้อมของตัวเด็ก พร้อมขับเคลื่อนความคิดนี้ไปยังคนอื่นเพราะเขาได้รับการปลูกฝัง ว่าความทุจริตเป็นสิ่งไม่ดี และเขาก็พร้อมจะเดินตาม และจัดตั้งเครือข่ายในการขยายผลต่อไป ทั้งวิทยุชุมชนหรือสื่อต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาชน การปลูกฝังความสุจริตให้เกิดขึ้นในประชาชน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัด ว่าได้ผลหรือไม่เพื่อการติดตามและขับเคลื่อนโครงการให้ได้ผลเป็นรูปธรรมต่อไป

       สำหรับโครงการ “โรงเรียนสุจริต” อยู่ใน โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา”ป้องกันการทุจริต” โดยนางสาวศันสนีย์ นาคพงษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และนักวิชาการ นักศึกษา คณะครูอาจารย์จากโรงเรียนต่างๆ ในเขตภูมิภาคตะวันออกเข้าร่วมโครงการ
       นางสาวศันสนีย์ กล่าวเปิดว่าโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา”ป้องกันการทุจริต” ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมียุทธศาสตร์และแผนงานที่ชัดเจนเล็งเห็นปัญหาที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตเช่นปัญหาคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศแม้ว่าภาค รัฐจะมีนโยบายการปราบปรามและรณรงค์เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น อย่างต่อเนื่องแต่ภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นโดยรวมของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้เมื่อมีการปลูกฝังค่านิยมการไม่ทุจริตให้กับเด็ก นักเรียนให้มีจิตสำนึกของการมีคุณธรรมไม่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ก็จะช่วยให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยลงไปในอนาคตก็เป็นได้โดยผลการตอบรับที่คาด ว่าจะได้จากการจัดโครงการดังกล่าว คือ การนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปเผยแพร่ปลูกฝังค่านิยมให้กับ เด็กรุ่นใหม่ได้มีจิตสำนึกในความถูกต้อง ไม่มุ่งหาผลประโยชน์ใส่ตัว รักความยุติธรรมซึ่งจะช่วยให้ในอนาคตประเทศไทยจะมีสถิติปัญหาการคอร์รัปชั่น น้อยลงนั่นเอง

ขอบคุณที่มา https://krusorn2022.blogspot.com/2022/08/2564-20.html

เว็บไซต์ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจกฟรี สื่อการสอน แนะนำ สื่อการสอนฟรี สำหรับครู ดาวน์โหลด ใบงาน ใบความรู้ สื่อออนไลน์ แบบฝึกหัด ข้อสอบ ทุกรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บทความ เอกสารทางการศึกษา อบรมออนไลน์ เพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นในการจัดการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามข่าวการศึกษา ข่าวทั่วไป อัพเดททันต่อเหตุการณ์ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมทั้งหมดไว้ที่นี่ www.สื่อการสอนฟรี.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา และยังสามารถติดตามได้ทางแฟนเพจ สื่อการสอนฟรี อีกช่อทาง เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยไม่แสวหาผลกำไรแต่อย่างใด

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button