ลงทะเบียนอบรมออนไลน์หลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ปี 2566 เรียนจบรับเกียรติบัตรทันทีจาก สพฐ.
ลงทะเบียนอบรมออนไลน์หลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ปี 2566 เรียนจบรับเกียรติบัตรทันทีจาก สพฐ.
ลงทะเบียนอบรมออนไลน์หลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ปี 2566 รหัสหลักสูตร 65017 เรียนจบรับเกียรติบัตรทันทีจาก สพฐ.
ขอเชิญชวนผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้สนใจ ร่วมอบรมผ่านสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มจธ. กรมสุขภาพจิต และ AIS มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และไม่ทำร้ายผู้อื่น เมื่อเรียนรู้ครบทุกตอน และผ่านการทดสอบ Post test เกณฑ์ผ่านคือ 70 % (สามารถทำซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะผ่านเกณฑ์) ครูผู้ผ่านการอบรมจะได้รับ E-Certificate ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรี ได้ทาง https://learndiaunjaicyber.ais.co.th ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
อุ่นใจไซเบอร์ คือ สื่อการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้คุณครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้สนใจ มีทักษะที่จะสร้างเด็กไทยให้รู้เท่าทันดิจิทัล ป้องกันการเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บนโลกอินเทอร์เน็ต สามารถรับมือกับภัยที่จะมากับสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ปลูกฝังความรู้เท่าทันในดิจิทัล หรือ DQ ให้กับเด็กๆ เพื่อจะได้มีทักษะการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาด
โดยทักษะด้านดิจิทัลที่เด็กไทยควรรู้เท่าทันประกอบด้วย8 ด้านดังนี้
– Digital Citizen Identity (การเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์บนโลกออนไลน์)
– Screen Time Management (การที่เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ และบริหารจัดการการใช้เวลาบนสื่อดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม)
– Cyberbullying Management (สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมเมื่อถูกรังแกบนโลกออนไลน์)
– Cyber Security Management (สามารถท่องอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย)
– Digital Empathy (การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น)
– Digital Footprints (การเข้าใจถึงร่องรอยบนโลกดิจิทัลที่เราทิ้งไว้ และผลที่อาจตามมา)
– Critical Thinking (การคิดอย่างมีเหตุผล)
– Privacy Management (การรู้สิทธิ และรักษาความเป็นส่วนตัวของตัวเอง)
วิธีการดาวน์โหลด ประกาศนียบัตรออนไลน์
ดาวน์โหลด ประกาศนียบัตรออนไลน์ หลังจากเรียนรู้ครบ 100% และสอบผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน
1. เข้าไปที่เส้นทางการเรียนรู้
2. เลือกเมนูด้านบน หัวข้อ ประกาศนีบัตรออนไลน์
3. คลิก ดาวน์โหลด
ที่มา :: https://www.kruachieve.com/
หลักสูตรอุ่นใจ
อุ่นใจไซเบอร์ หลักสูตรและทักษะดิจิทัลที่ AIS ผลักดันให้เป็นแบบเรียนของเยาวชน
ทุกวันนี้สื่อโซเชียลและเครื่องมือด้านดิจิทัลเทคโนโลยีต่างๆ เป็นเหมือนกับปัจจัยที่ 5 ในชีวิตที่ผู้คนขาดไม่ได้ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกที่ทำได้สารพัดรูปแบบ สารพันช่องทาง ไปจนถึงการช้อปปิ้ง สั่งอาหาร จองโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน จ่ายบิล ซื้อของใช้ หรือแม้แต่ซื้อรถ ซื้อบ้าน ที่เดี๋ยวนี้สามารถทำได้บนมือถือภายในไม่กี่วินาที
แต่อย่างไรก็ตามประโยชน์ก็มาพร้อมกับ ‘โทษ’ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้งานและแนวทางรับมือที่ถูกต้องและเหมาะสมก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาที่เราเรียกว่า ‘ภัยไซเบอร์’
ภัยไซเบอร์ทุกวันนี้มาในสารพัดรูปแบบ ทั้งการกลั่นแกล้งพาทัวร์มาลง การล่อลวงออกไปพบคนแปลกหน้า การโกงเงินจากการซื้อของ การทิ้งร่องรอยการใช้งานจนนำมาซึ่งการขโมยรหัสผ่าน แฮ็กข้อมูลส่วนตัว แก๊งคอลเซนเตอร์มิจฉาชีพที่ยังหลอกผู้คนอยู่ทุกวันนี้ หรือแม้แต่การล้อเลียนกันบนโซเชียล สร้างปมด้อยให้คนคนนั้นจนเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย
เรื่องนี้ทำให้ AIS บริษัทโทรคมนาคมเริ่มโครงการ ‘อุ่นใจไซเบอร์’ มาตั้งแต่ปี 2562 ถือเป็นแบรนด์แรกๆ ที่ออกมาพูดถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานในช่วงเวลาที่คนไทยมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตและมือถือค่อนข้างสูง
ที่ผ่านมา AIS ได้ใช้ภารกิจนี้ในการร่วมสร้างสังคมดิจิทัลให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้นผ่านการทำงานในสองมิติ คือ หนึ่ง–นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้คนใช้งานได้อย่างปลอดภัย และสอง–การสร้างภูมิปัญญาในลักษณะขององค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์
และล่าสุด คือการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทยซึ่งถูกนำไปใช้จริงแล้วกับคุณครูและนักเรียนทั่วประเทศไทย
หลักสูตรที่ว่านี้มีหน้าตาเป็นยังไง? ทำยังไงให้นำไปใช้จริงได้? และทำไมบริษัทโทรคมนาคมถึงไม่เน้นแค่การพัฒนาบริการแต่ยังลงมือทำหลักสูตรด้านดิจิทัลให้เด็กๆ และคุณครูด้วย? คอลัมน์ In Good Company ชวนพาไปหาคำตอบ
พัฒนาคุณภาพเครือข่ายพร้อมกับคุณภาพชีวิต
“เป้าหมายการทำงานของ AIS ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานเท่านั้นแต่เราตระหนักถึงการสร้างสังคมดิจิทัลให้ดีขึ้นด้วย” คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เล่าถึงความตั้งใจขององค์กร
“ดังนั้นตั้งแต่ปี 2562 เราจึงเปิดตัวโครงการอุ่นใจไซเบอร์เพื่อเป็นแกนกลางสร้างเครือข่าย ชวนทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกให้กับสังคมดิจิทัลของไทย
“วันนี้ AIS จึงร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ เช่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขมาพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมี สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการมาช่วยรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรด้านการศึกษา พร้อมให้นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนได้ และสุดท้ายกระทรวงมหาดไทยที่จะช่วยพวกเราส่งต่อหลักสูตรไปยังโรงเรียนในสังกัด”
อุ่นใจไซเบอร์ พัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลด้วยหลักสูตร ‘4P4ป’
สำหรับเนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและผู้ร่วมพัฒนาสูตรดิจิทัลอุ่นใจไซเบอร์ เล่าว่าที่มาของหลักสูตรอ้างอิงมาตรฐานการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลของ DQ Framework (Digital Intelligence Quotient) และได้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมาปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย จนสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ หรือที่เรียกกันด้วยชื่อย่อง่ายๆ ว่า ‘4P4ป’ ได้แก่
1. Practice : ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. Personality : แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
3. Protection : เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
4. Participation : รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม
คุณครูและนักเรียนจะได้เรียนหลักสูตรผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล LearnDi หรือแอพพลิเคชั่น อุ่นใจ CYBER โดยนักเรียนจะต้องทำข้อสอบจริงให้ได้คะแนนมากกว่า 70% ขึ้นไปถึงจะสามารถผ่านและจบหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้
ช่วงต้นปี 2565 หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ได้เริ่มนำไปใช้แบบนำร่องกับการเรียนการสอนบางแห่งในระบบ Sandbox หรือระบบทดสอบแบบเสมือนจริง มีครูและนักเรียนที่เข้าเรียนและสอบผ่านไปแล้วกว่า 160,000 คน ถือเป็นความสำเร็จที่ ศ. ดร.สุวิทย์มองว่าเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่อยากให้ทุกคนเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ
“ความร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจในการทำงานร่วมกันของคณาจารย์ บุคลากร ด้วยการใช้ศักยภาพของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ คือพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะช่วยให้ทุกคนที่ปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย”
ที่มา :: https://capitalread.co/ais-aunjai-cyber/