แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “การยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอน” ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail โดยสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “การยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอน” ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail โดยสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ตัวอย่างเกียรติบัตร
การยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนคุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ คือ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง โดยการปกครองและบริหารที่ดี (Good Governance)
การปกครองและบริหารที่ดี ตามหลักธรรมปฏิบัตินั้น ผู้บริหารงานต้องมี “ประมุขศิลป์” คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership) อันเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่สำคัญ ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ลงมาถึงหัวหน้างานทุกระดับให้สามารถปกครอง และบริหารองค์กรที่ตนรับผิดชอบ ให้ดำเนินไปถึงความ สำเร็จอย่างได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง และให้ถึงความเจริญ รุ่งเรือง และสันติสุข อย่างมั่นคง
คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดีนั้น เป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Arts) กล่าวคือ สามารถ ศึกษาวิเคราะห์วิจัยข้อมูลอย่างมีระบบ (Systematic Study) จากพฤติกรรมและวิธีการปกครองการบริหาร องค์กรให้สำเร็จด้วยดี มีประสิทธิภาพสูงมาแล้ว ประมวลขึ้นเป็นหลัก หรือ ทฤษฎี (Theory) ตามวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ (Scientific Method) สำหรับใช้เป็นแนวทาง การปฏิบัติงานของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ให้เกิด ประโยชน์แก่การปกครองการบริหารที่ดี (Good Governance) กล่าวคือ ให้บรรลุผลสำเร็จด้วยดีมีประสิทธิ ภาพสูงได้ เพราะเหตุนั้น ประมุขศิลป์ คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี จึ่งชื่อว่า เป็นศาสตร์ (Science)
นอกจากนี้ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดีนั้น ยังเกิดจากการที่บุคคลได้เคยศึกษา หาความรู้ ฝึกฝน อบรม บ่มนิสัย และเคยปฏิบัติพัฒนาสภาวะความเป็นผู้นำที่ดี มาแต่ปางก่อน คือ แต่อดีตกาล จน หล่อหลอมบุคลิกภาพและสภาวะความเป็นผู้นำที่ดี ปลูกฝัง เพิ่มพูน อยู่ใน จิตสันดานยิ่งขึ้นต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ประมุขศิลป์ คือ คุณลักษณะของความเป็นผู้นำที่ดีเช่นนี้ ชื่อว่า เป็นศิลป์ (Arts) ซึ่งก็คือ “บุญบารมี” นั้นเอง
คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ นั้น ประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ประการ คือ
๑. หลักการครองตน
๒. หลักการครองงาน
๓. หลักการครองคน
๔. หลักธรรมาภิบาล
หลักการครองตน
หลักการครองตน ประกอบด้วยหลักธรรมดังต่อไปนี้
๑. เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี คือ เป็นผู้มีสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตที่ดี
๑.๑ มีสุขภาพกายที่ดี คือ เป็นผู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีท่วงท่ากิริยา รวมทั้งการแต่งกาย ที่สุภาพ เรียบร้อย ดีงาม สะอาด และดูสง่างามสมฐานะ
๑.๒ มีสุขภาพจิตที่ดี คือ เป็นผู้มีอัธยาศัยใจคอที่งาม เป็นคนดี มีศีลธรรม ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ผู้มีศรัทธา หมายถึง เป็นผู้รู้จักศรัทธาบุคคล และข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา ไม่ลุ่มหลง งมงายในที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง
ผู้มีศีล คือ ผู้ที่รู้จักสำรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติ ทางกาย และทางวาจา ให้เรียบร้อย ดีงาม ไม่ประพฤติเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ผู้มีสุตะ คือ ผู้ได้เรียนรู้ทางวิชาการ และได้ศึกษาค้นคว้าในวิชาชีพดี
ผู้มีจาคะ คือ เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ไม่คับแคบ รู้จักเสียสละ
ผู้มีวิริยะ คือ ผู้ขยันหมั่นเพียร ในการประกอบกิจการงานงานอาชีพ และ/หรือในหน้าที่ รับผิดชอบ
ผู้มีสติ คือ ผู้รู้จัก ยับยั้ง ชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนคิด พูด ทำ
ผู้มีสมาธิ คือ ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ข่มกิเลสนิวรณ์
ผู้มีปัญญา คือ ผู้มีปัญญาอันเห็นชอบรอบรู้ทางเจริญ ทางเสื่อมแห่งชีวิต ตามที่เป็นจริง
๒. ผู้มีกัลยาณมิตตธรรม คือ ผู้มีคุณธรรมของมิตรที่ดี ๗ ประการ คือ
๑) เป็นผู้น่ารัก (ปิโย) คือ เป็นผู้มีจิตใจกอปรด้วยเมตตากรุณาพรหมวิหาร
๒) เป็นผู้น่าเคารพบูชา (ครุ) คือ เป็นผู้ที่สามารถเอาเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่พึ่งทางใจ
๓) เป็นผู้น่านับถือ น่าเจริญใจ (ภาวนีโย) ด้วยว่า เป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนมาดีแล้ว ควร แก่การยอมรับและยกย่องนับถือ เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้
๔) เป็นผู้รู้จักพูดจาโดยมีเหตุผลและหลักการ (วัตตา) รู้จักชี้แจง แนะนำ ให้ผู้อื่น เข้าใจดี แจ่มแจ้ง เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำที่ล่วงเกิน วิพากษ์ วิจารณ์ ซักถาม หรือขอปรึกษาหารือ ขอ ให้คำแนะนำต่างๆ ได้ (วจนักขโม)
๖) สามารถแถลงชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้ง หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจอย่าง ถูกต้อง และ ตรงประเด็นได้ (คัมภีรัญ จะ กะถัง กัตตา)
๗) ไม่ชักนำในอฐานะ (โน จัฏฐาเน นิโยชะเย) คือไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม (อบายมุข) หรือ ไปในทางที่เหลวไหลไร้สาระ หรือที่เป็นโทษ เป็นความทุกข์ เดือดร้อน
หลักการครองงาน
หลักการครองงาน ประกอบด้วยหลักธรรม คือ อิทธิบาทธรรม ได้แก่
๔.๑ ฉันทะ ความรักงาน คือ จะต้องเป็นผู้รักงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ และทั้งจะต้อง เอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน และ มุ่งมั่นที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ
๔.๒ วิริยะ ความเพียร คือ จะต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบด้วยความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพของตน จึงจะถึงความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้าได้
๔.๓ จิตตะ ความเป็นผู้มีใจจดจ่ออยู่กับการงาน ผู้ที่จะทำงานได้สำเร็จด้วยดี มี ประสิทธิภาพนั้น จะต้องเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำ และมุ่งกระทำงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ ไม่ทอดทิ้งหรือวางธุระเสียกลางคัน ไม่เป็นคนจับจด หรือทำงานแบบทำๆ หยุดๆ
หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ “ติดตามผลงาน และ/หรือ ตรวจงาน” หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การของตน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ตัดสินใจ และสั่งการ ให้กิจการงาน ทุกหน่วยดำเนินตามนโยบายและแผนงาน ให้ถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
๔.๔ วิมังสา ความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการปฏิบัติงานของตนเอง และของผู้น้อยหรือของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ว่า ดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้หรือไม่ ได้ผลสำเร็จ หรือมีความคืบหน้าไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไร มีอุปสรรคหรือปัญหาที่ควรได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงาน หรือวิธีการบริหารกิจการงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร ขั้นตอนนี้ เป็นการนำข้อมูลจากที่ได้ติดตามประเมินผลงานหรือตรวจงานนั้นแหละมาวิเคราะห์ วิจัย ให้ทราบเหตุผล ของปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องในการทำงาน แล้วพิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนาวิธี การทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ให้ถึงความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปได้
อนึ่ง อิทธิบาทธรรม ข้อ “วิมังสา” คือความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการทำงาน ให้ได้ผลดีนี้ กล่าวโดยความหมายอย่างกว้าง จะเห็นมีข้อปฏิบัติที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ หรือในการประกอบสัมมาอาชีวะ ให้ได้ผลดีและมีความเจริญมั่นคงยิ่งกว่าข้ออื่นๆ อีก ที่ในวงวิชาการบริหาร ได้ศึกษาวิจัยเห็นผลดีมาแล้ว ได้แก่
ก) เป็นผู้มีความคิดริเริ่ม (Initiatives) ด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creative) โครงการ ใหม่ๆ ที่ เป็นประโยชน์สุขแก่หมู่คณะ สังคม และประเทศชาติ และวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้การปกครอง การบริหาร กิจการงานได้บังเกิดผลดี มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
ข) มีความคิดพัฒนา (Development) คือ เป็นนักพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ล้าหลัง หรือข้อบกพร่องในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ค) เป็นผู้มีสำนึกในภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Sense of Responsibilities) สูง คือ มี สำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนศักยภาพ และ สำนึกในการสร้าง ฐานะของตน และมีสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม คือต่อครอบครัว ต่อองค์กรและหมู่คณะ ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และต่อสังคมประเทศชาติ ให้เจริญสันติสุข และมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนึกในหน้าที่ รับผิดชอบต่อสถาบันหลักทั้ง ๓ ของประเทศ ชาติไทยเรา คือ สถาบันชาติ ๑ สถาบันพระพุทธศาสนา ๑ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑ เพราะสถาบันหลักทั้ง ๓ นี้ หากสถาบันใดคลอนแคลน ไม่มั่นคง ไม่ว่า จะเป็นเพราะถูกศัตรูภายใน และ/หรือ ศัตรูจากภายนอกรุกราน ย่อมกระทบกระเทือนถึงสถาบันหลักอื่นๆ ของชาติไทยเรา ให้พลอยคลอนแคลนอ่อนแอไปด้วย
ผู้นำที่ดี จึงย่อมต้องสำเหนียก และจักต้องมีความสำนึก ในหน้าที่ความ รับผิดชอบต่อ สถาบันหลักทั้ง ๓ นี้ อย่างจริงใจ และจะต้องรับช่วยกันดำเนินการ ให้ความ คุ้มครอง ป้องกัน แก้ไข บำรุง รักษา อย่างเข้มแข็งจริงจัง และต่อเนื่อง ให้เกิดความเจริญ และ ความสันติสุขอย่างมั่นคง ให้ได้
ฆ) มีความมั่นใจตนเอง (Self Confidence) สูง นี้หมายถึง มีความมั่นใจ โดยธรรม คือ มีความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ สติปัญญาและวิสัยทัศน์ และทั้งคุณธรรม คือ ความเป็นผู้มีศีล มีธรรม อันตนได้ศึกษาอบรมมาดีแล้ว มิใช่มีความมั่นใจอย่างผิดๆ ลอยๆ อย่างหลงตัวหลงตน ทั้งๆ ที่แท้จริง ตนเอง หาได้มีคุณสมบัติและคุณธรรมดีสมจริงไม่ และจักต้องรู้จักแสดงความ มั่นใจ ในเวลาคิด พูด ทำ ให้ เหมาะสมกับกาละ เทศะ บุคคล สถานที่ และ ประชุมชน ด้วย
หลักการครองคน
หลักการครองคน ประกอบด้วยหลักธรรมดังต่อไปนี้
๑. รู้จักหลักปฏิบัติต่อกันด้วยดี ระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ชื่อ “เหฏฐิมทิศ” มีเนื้อความว่า
“เหฏฐิมทิศ” คือ ทิศเบื้องต่ำ เจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชา พึงบำรุงบ่าว คือผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยสถาน ๕ คือ
๑.๑ ด้วยการจัดงานให้ตามกำลัง กล่าวคือ มอบหมายหน้าที่การงานให้ตามกำลังความรู้ สติปัญญา ความสามารถ (Put the right man on the right job – รู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน)
๑.๒ ด้วยการให้อาหารและบำเหน็จรางวัล กล่าวคือ เมื่อทำดี ก็รู้จักยกย่องชมเชย และ/หรือ สนับสนุน อุดหนุน ให้ได้รับบำเหน็จรางวัล เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งตามสมควรแก่ฐานะ เมื่อทำไม่ดี ก็ให้คำตักเตือน แนะนำ สั่งสอน ให้พัฒนาสมรรถภาพให้ดีขึ้น ถ้าไม่ยอมแก้ไขพัฒนาตนให้ดีขึ้น ก็ต้องตำหนิ และมีโทษตามกฎเกณฑ์ โดยชอบธรรม
๑.๓ ด้วยการรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ กล่าวคือ ต้องรู้จักดูแลสารทุกข์ สุกดิบของ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ไม่เป็นผู้แล้งน้ำใจ คือไม่ปฏิบัติกับลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
๑.๔ ด้วยแจกของมีรสดีแปลกๆ ให้กิน หมายความว่า ให้รู้จักมีน้ำใจแบ่งปันของกิน ของใช้ดีๆ ให้ลูกน้อง
๑.๕ ด้วยปล่อยในสมัย คือ รู้จักให้ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ลาพักผ่อนบ้าง
ส่วนบ่าว หรือลูกน้องผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เมื่อเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชา ทำนุบำรุงอย่างนี้แล้ว ก็พึงปฏิบัติอนุเคราะห์เจ้านาย ผู้บังคับบัญชาด้วยสถาน ๕ ตอบแทนด้วยเช่นกัน คือ
(๑) ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย คือ ให้รับสนองงานผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันขันแข็ง ควรมาทำงานก่อนนาย หรือผู้บังคับบัญชา อย่างน้อย ก็มาให้ทันเวลาทำงาน ไม่มาสายกว่านาย หรือ สายกว่าเวลาทำงานตามปกติ
(๒) เลิกการทำงานทีหลังนาย คือ ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง แม้เลิก ก็ควรเลิก ทีหลังนาย หรือผู้บังคับบัญชา อย่างน้อยก็อยู่ทำงานให้เต็มเวลา ไม่หนีกลับก่อนเวลาเลิกงาน
(๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้ คือ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่คดโกงนาย หรือผู้บังคับ บัญชา ไม่คอร์รัปชั่น ไม่เรียกร้องต้องการโดยไม่เป็นธรรม หรือเกินเหตุ
(๔) ทำงานให้ดีขึ้น คือ ต้องรู้จักพัฒนาคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ และวิสัยทัศน์ในการ ทำงาน ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง
(๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญ คือ รู้จักนำคุณความดีของเจ้านาย ผู้บังคับบัญชา ไปยกย่อง สรรรเสริญ ตามความเป็นจริง ในที่และโอกาสอันสมควร
กล่าวโดยย่อ ผู้บังคับบัญชา กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา พึงปฏิบัติต่อกัน ดังคำนักปกครอง นักบริหารแต่โบราณกล่าวว่า
“อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย”
“อยู่สูงให้นอนคว่ำ” หมายความว่า เป็นผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้นำคน พึง ดูแลเอาใจใส่ ทำนุบำรุง ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องด้วยดี คือด้วยความเป็นธรรม ตามหลักธรรมของ พระพุทธเจ้า ตามที่กล่าวข้างต้นนี้ เพื่อให้ลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา มีขวัญกำลังใจในการสนองงาน ได้เต็มที่ อย่าให้ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เกิดความรู้สึกท้อถอย ว่าทำดีสักเท่าใด ผู้ใหญ่ ก็ไม่เหลียวแล ดังคำโบราณท่านว่า
มีปาก ก็มีเปล่า เหมือนเต่าหอย
เป็นผู้น้อย แม้ทำดี ไม่มีขลัง
หรืออย่าให้ลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่า ผู้ใหญ่ไม่ ยุติธรรม มักเลือกปฏิบัติไม่เสมอกัน ดังคำที่ว่า
(เรา) ทำงานทั้งวัน ได้พันห้า
(ส่วนคนอื่น) เดินไปเดินมา ได้ห้าพัน
“อยู่ต่ำให้นอนหงาย” หมายความว่า ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ก็พึงปฏิบัติตน ต่อเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชาด้วยดี รับสนองงานท่านด้วยความยินดี ด้วยใจจริง และทำงานด้วย ความเข้มแข็ง ตามหลักธรรม คือ “เหฏฐิมทิศ” ดังที่กล่าวมาแล้ว
๒. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) ที่ดี ด้วยคุณธรรม คือ พรหมวิหารธรรม และสังคหวัตถุ
พรหมวิหารธรรม คุณธรรมเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ ๔ ประการ
(๑) เมตตา คือ ความรัก ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
(๒) กรุณา คือ ความสงสาร ปรารถนาให้ผู้มีทุกข์ เดือดร้อน ให้พ้นทุกข์
(๓) มุทิตา คือ ความพลอยยินดี ที่ผู้อื่นได้ดี ไม่คิดอิจฉาริษยากัน
(๔) อุเบกขา คือ ความวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ โดยที่เราก็ช่วย อะไรไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวางใจของเราเองด้วยปัญญา ตามพระพุทธพจน์ว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม”
สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือ
(๑) ทาน รู้จักให้ปัน สิ่งของ ของตน แก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
(๒) ปิยวาจา รู้จักเจรจาอ่อนหวาน คือ กล่าวแต่วาจาที่สุภาพอ่อนโยน
(๓) อัตถจริยา รู้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
(๔) สมานัตตตา เป็นผู้มีตนเสมอ คือ ไม่ถือตัวเย่อหยิ่ง จองหอง อวดดี
คุณธรรม ๔ ประการนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้ และยังความสมัคร สมานสามัคคี ให้เกิดขึ้นระหว่างกันและกันด้วย หรือจะเรียกว่า เป็น “หลักธรรมมหาเสน่ห์” ก็ได้
หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล คือ คุณธรรมของนักปกครองนักบริหารที่ดี (Good Governance) คือ
๒.๑ หลักความถูกต้อง คือ มีการพิจารณาวินิจฉัยปัญหา การทำการตัดสินใจ (Decision Making) และสั่งการ (Command) ด้วยความถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และกฎระเบียบข้อบังคับ ขององค์กรที่ออกตามกฎหมาย ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของสังคม ถูกต้อง ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ และถูกต้องตรงประเด็นตามหลักวิชา และได้รับความพึงพอใจ จากชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
๒.๒ หลักความเหมาะสม คือ รู้จักคิด พูด ทำ กิจการงาน และปฏิบัติงานได้เหมาะสม ถูกกาละ เทศะ บุคคล สังคม และสถานการณ์ (มีสัปปุริสธรรม)
สัปปุริสธรรม คือ คุณธรรมของสัตบุรุษ คือคนดีมีศีลธรรม มี ๗ ประการ คือ
๓.๑ ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ ได้แก่ ปัญญารู้เหตุแห่งทางเจริญ และทางเสื่อม เป็นต้น
๓.๒ อัตถัญญุตา รู้จักผล ได้แก่ ปัญญารู้ผล ที่เป็นมาแต่เหตุ หรือปัจจัยให้เกิดผลต่างๆ ตามที่เป็นจริง
๓.๓ อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ภูมิธรรม ภูมิปัญญา และฐานะของตน ตามที่เป็นจริง แล้ววางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ
๓.๔ มัตตัญญุตา รู้จักประมาณตน ปฏิบัติตน วางตน ให้เหมาะสมแก่ฐานะ และรู้จัก ประมาณในการบริโภคใช้สอยทรัพย์ที่มีอยู่ และตามมีตามได้
๓.๕ กาลัญญุตา รู้จักกาล คือ รู้จักเวลา หรือโอกาสที่ควร และไม่ควรพูด หรือกระทำ การต่างๆ
๓.๖ ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ว่ามีอัธยาศัยใจคอ ฐานะความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียม ประเพณีของหมู่ชนต่างๆ เพื่อให้รู้จักวางตัวให้เหมาะสม
๓.๗ ปุคลัญญุตา รู้จักบุคคล ว่ามีอัธยาศัยใจคอ มีภูมิธรรม ภูมิปัญญา และมีฐานะอย่างไร เพื่อปฏิบัติตน หรือวางตน ให้เหมาะสมตามฐานะของเราและของเขา
๒.๓ หลักความบริสุทธิ์ คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ กระทำกิจการงาน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือ ด้วยเจตนา ความคิดอ่าน ที่บริสุทธิ์
๒.๔ หลักความยุติธรรม คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ และปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยความชอบธรรม บนพื้นฐานแห่งหลักธรรม หลักการ เหตุผล และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรงประเด็น และด้วยความเที่ยงธรรม คือ ไม่อคติ หรือลำเอียงด้วยความหลงรัก หลงชัง ด้วยความกลัวเกรง และด้วยความหลง ไม่รู้จริง คือขาดข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสมบูรณ์ เป็นเครื่อง ประกอบการวินิจฉัย ตัดสินใจ ให้ความเที่ยงธรรม
หลัก “ธรรมาภิบาล” นี้ เมื่อกระจายเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับพระราชา มหากษัตริย์ ที่ทรงใช้ปกครองพระราชอาณาจักร ให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข ชื่อว่า “ทศพิธราชธรรม” อันผู้ปกครอง/ผู้บริหารประเทศชาติทุกระดับ และแม้ผู้บริหารองค์กรอื่นๆ พึงใช้ประกอบ การปฏิบัติงานของตน ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม ได้เป็นอย่างดี
“ทศพิธราชธรรม” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐของเรา ได้ทรงถือ เป็นหลักปฏิบัติ ในการครองพระราชอาณาจักร ให้พสกนิกรของพระองค์อยู่เย็นเป็นสุข เป็นที่ประจักษ์ตา ประจักษ์ใจแก่ชนชาวโลกเสมอมานั้น มี ๑๐ ประการ ตามพระพุทธภาษิตดังต่อไปนี้ คือ
๑) ทาน การให้
๒) ศีล การสังวรระวังกายและวาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ
๓) ปริจจาคะ การเสียสละ
๔) อาชชวะ ความซื่อตรง
๕) มัททวะ ความสุภาพอ่อนโยน
๖) ตปะ ความเพียรเพ่งเผากิเลส
๗) อักโกธะ ความไม่โกรธ
๘) อวิหิงสา การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดทั้งสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก
๙) ขันติ ความอดทน
๑๐) อวิโรธนะ ความประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิดทำนองคลองธรรม และดำรงอาการคงที่ ไม่หวั่นไหว ด้วยอำนาจยินดียินร้าย
คุณธรรมในการทำงาน
คุณธรรมในการทำงาน หมายถึง ลักษณะนิสัยที่ดีที่ควรประพฤติปฏิบัติในการประกอบอาชีพคุณธรรมสำคัญที่ช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จมีดังนี้
ความมีสติสัมปชัญญะ หมายถึง การควบคุมตนเองให้พร้อม มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การใช้ปัญญาและเหตุผลในการตัดสินใจที่จะประพฤติปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เหมาะสม และถูกต้อง
ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และไม่หลอกลวงใคร
ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ความพยายามในการทำงานหรือหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน ด้วยความมุ่งมั่นเอาใจใส่อย่างจริงจังพยายามทำเรื่อยไปจนกว่างานจะสำเร็จ
ความมีระเบียบวินัย หมายถึง แบบแผนที่วางไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินการให้ถูกลำดับ ถูกที่ มีความเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสมกับจรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
ความรับผิดชอบ หมายถึง ความเอาใจใส่มุ่งมั่นตั้งใจต่องาน หน้าที่ ด้วยความผูกพัน ความพากเพียร เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ความมีน้ำใจ คือ ปรารถนาดีมีไมตรืจิตต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบความสุข และชาวยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
ความประหยัด หมายถึง การรู้จักใช้ รู้จักออม รู้จักประหยัดเวลาตามความจำเป็น เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด
ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมทั้งกาย จิตใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จโดยไม่มีการเกี่ยงงอน
จริยธรรมในการทำงาน
จริยธรรมในการทำงาน หมายถึง กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางปกิบัติตนในการประกอบอาชีพที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาน เหทาะสม และยอมรับ
การทำงานหรือการประกอบอาชีพต่าง ๆ จะเน้นในเรื่องของจริยธรรมที่มีความแตกต่างกันดังนี้
จริยธรรมในการทำงานทั่วไป
จริยธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญในการทำงานและการดำรงชีวิต เรียกว่า มงคล 38 ประการ มงคลชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีดังนี้
ชำนาญในวิชาชีพของตน ( มงคลชีวิตข้อที่ 8 ) เป็นการนำความรู้ที่เล่าเรียน ฝึกฝน อบรม มาปฏิบัติให้เกิดความชำนาญจนสามารถยึดเป็นอาชีพได้
ระเบียบวินัย ( มงคลชีวิตข้อที่ 9 ) การฝึกกาย วาจาให้อยู่ในระเบียบวินัยที่สังคมหรือสถาบันวางไว้เป็นแบบแผน
กล่าววาจาดี( มงคลชีวิตข้อที่ 10 ) คือ วจีสุจริต 4 ประการ ได้แก่ ความจริง คำประสานสามัคคี คำสุภาพ คำมีประโยชน์
ทำงานไม่คั่งค้างสับสน ( มงคลชีวิตข้อที่ 14 ) ลักษณะการทำงานของคนโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
– การทำงานคั่งค้างสับสน คือ ทำงานหยาบยุ่งเหยิง ทำงานไม่สำเร็จ
– การทำงานไม่คั่งค้าง คือ การทำงานดีมีระเบียบ ทำงานเต็มฝีมือ และทำงานให้เสร็จ
จรรยาบรรณวิชาชีพ
จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อมุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม
ความสำคัญของจรรยาบรรณ
เพื่อให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข จึงต้องมีกฎ กติกา มารยาท ของการอยุ่ร่วมกัน ในสังคมที่เจริญแล้วไม่มองแต่ความเจริญทางวัตถุความสำคัญของจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม มนุษย์นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญมากที่สุดในโลก เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สามารถเรียนรู้และรับการฝึกอบรมสั่งสอน จนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อโลกได้ ในการเรียนรู้และการฝึกอบรมเพื่อสะสมประสบการณ์ชีวิต มนุษย์ควรได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมไปด้วยพร้อม ๆ กัน เพราะคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมาก อาจสรุปความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมได้ดังนี้ คือ
1. ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบสุข ไม่พบอุปสรรค
2. ช่วยให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่เผลอตัว ไม่ลืมตัว จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งใดก็จะระมัดระวังตัวอยู่เสมอ
3. ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ
4. ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น นับว่าเป็นคุณแก่สังคม เพราะนอกจากจะเป็นตัวอย่างโดยการชี้นำทางอ้อมแล้ว ยังจะออกปากแนะนำสั่งสอนโดยตรงได้อีกด้วย
5. ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ ที่ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า
6. ช่วยควบคุมการเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจริญไปพร้อม ๆ กัน
7. ช่วยสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้มนุษย์
ความสำคัญของคุณธรรม และจริยธรรมที่กล่าวมานี้ ประเด็นที่สำคัญก็คือ สามารถลดปัญหา และขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล สังคม และประเทศชาติได้ เมื่อทุกคนประพฤติปฏิบัติตนดีแล้ว อุปสรรค ศัตรู ภัยอันทราย ก็จะหมดสิ้นไป ผู้คนมีแต่ความรักต่อกัน สังคมมีแต่ความสงบ และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง
ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม
คุณธรรมและจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ เพราะจะนำความสุข ความเจริญ ความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติ สังคม และบุคคล คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประเทศชาติ นับว่ามีพระคุณอย่างมหาศาล เพราะเป็นสถานที่ ที่เราทุกคนอยู่อาศัยอย่างผาสุกตั้งแต่เกิดจนตาย ให้เราได้ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต ให้เราได้ภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีที่มีชาติเป็นของตนเอง ไม่เป็นทาสใคร เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อชาติ รักและหวงแหน ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้ชาติเป็นเอกสารสืบไป ป้องกันไม่ให้ผู้ใดมาทำลาย ปกป้องชื่อเสียงไม่ให้ใครมาดูแคลน และประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติบ้านเมือง ศาสนา เป็นที่พึ่งทางกายและทางจิตใจ ทำให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติสุข เรามีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบต่อไป ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา สร้างและบูรณะ ศาสนาสถาน ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ ประพฤติต่อผู้อื่นด้วยความสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นศูนย์รวมของชาวไทยทั้งประเทศ พระองค์ทรงเป็นผู้นำและผู้ปกป้องชาติและศาสนา ทรงบำบัดทุกข์และบำรุงสุข ให้แก่ราษฎรด้วยความเสียสละในทุก ๆ ด้าน เราต้องเทิดทูนพระองค์ไว้สูงสุด รับใช้สนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างเต็มความสามารถ ประพฤติตนเป็นคนดีไม่เป็นภาระแก่พระองค์ และถ้ามีความจะเป็นแม้ชีวิตของเราเองก็สามารถจะถวายพลีชีพได้ เพื่อความเป็นปึกแผ่น และยั่งยืนของสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกำลังกาย กำลังใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสำเร็จตรงตามเวลา บังเกิดผลดีต่อตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้รวมไปถึงการรับผิดเมื่องานล้มเหลว พยายามแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยไม่เกี่ยงงอนผู้อื่น
3. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัว และสังคมกำหนดไว้ โดยที่จะปฏิเสธไม่รับรู้กฎเกณฑ์หรือกตาต่าง ๆ ของสังคมไม่ได้ คุณธรรมข้อนี้ต้องใช้เวลาปลูกฝังเป็นเวลานาน และต้องปฏิบัติสม่ำเสมอจนกว่าจะปฏิบัติเองได้ และเกิดความเคยชิน การมีระเบียบวินัยช่วยให้สังคมสงบสุขบ้านเมืองมีความเรียบร้อย เจริญรุ่งเรือง
4. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การปฏิบัติตน ทางกาย วาจา จิตใจ ที่ตรงไปตรงมา ไม่แสดงความคดโกงไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ลั่นวาจาว่าจะทำงานสิ่งใดก็ต้องทำให้สำเร็จเป็นอย่างดี ไม่กลับกลอก มีความจริงใจต่อทุกคน จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน
5. ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ตนเอง ทำให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม ผู้คนเคารพนับถือ
6. ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่นที่จะทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ความอดทนมี 4 ลักษณะ คือ
– อดทนต่อความยากลำบาก เจ็บป่วย ได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการจนเกินกว่าเหตุ
– อดทนต่อการตรากตรำทำงาน ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จ
– อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่แสดงความโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาท อดทนต่อคำเสียดสี
– อดทนต่อกิเลส คือ ไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกิดทุกข์ ไม่ตอบโต้คนอื่นที่ทำให้เราโกรธ และไม่ลุ่มหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสียหาย
7. การไม่ทำบาป หมายถึง การงดเว้นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพราะเป็นเรื่องเศร้าหมองของจิตใจ ควรงดเว้นพฤติกรรมชั่วร้าย 3 ทาง คือ
– ทางกาย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี
– ทางวาจา เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวถ้วยคำหยาบคาย ไม่ใส่ร้าย ไม่พูดเพ้อเจ้อ
– ทางใจ เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาต ไม่คิดอยากได้
8. ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่มีการเกี่ยงงอนหรือคิดชิงดีชิงเด่นกัน ทุกคนมุ่งที่จะให้สังคมและประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง มีความรักใคร่กลมเกลียวกันด้วยความจริงใจ ความไม่เห็นแก่ตัว การวางตนเสมอต้นเสมอปลายก็หมายถึงความสามัคคีด้วย
ความสอดคล้องของสถานภาพและบทบาทของบุคคลในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
สถานภาพและบทบาทของบุคคลที่สอดคล้องกัน เช่น
1) พ่อ แม่ ควรมีบทบาทดังนี้
(1) รับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว
(2) ให้การศึกษาต่อสมาชิกของครอบครัว
(3) จัดสรรงบประมาณของครอบครัวให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของสังคมและโลก
(4) ครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีความรักต่อบุตร
2) ครู – อาจารย์ ควรมีบทบาท ดังนี้
(1) ถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์โดยกระบวนการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน
(2) ครองตนให้เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
(3) เป็นผู้เสียสละทั้งเวลาและอดทนในการสั่งสอนศิษย์ทั้งด้านความประพฤติและการศึกษา
(4) ยึดมั่นในระเบียบวินัย ตลอดจนปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู
3) นักเรียน ควรมีบทบาท ดังนี้
(1) ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบของโรงเรียน
(2) รับผิดชอบต่อหน้าที่ในการศึกษาหาความรู้
(3) ให้ความเคารพต่อบุคคลที่อาวุโสโดยมีมารยาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์
(4) รับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างมีเหตุผล
(5) ขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
(6) เสริมสร้างความสามัคคีในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความสามัคคี
6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1) ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
3) ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
4) ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
5) การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
6) การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
โปรดแอดไลน์ เพื่อประสานงาน ติดตามโครงการ บทเรียนใหม่ๆ >> https://line.me/ti/g2/3toaYolw6vgCuAemEooN9k7Hmub99osAKWInJg?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
แต่งข้อสอบการเรียนรู้โดยพระครูวินัยธรวชิรวิทย์ อาทิจฺโจ ประธานโครงการธรรมะออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความรู้
ขอบคุณข้อมูลจาก >>> http://ethics.nso.go.th/index.php/moral/30-2016-10-31-09-35-01
>>> https://sites.google.com/site/52010911201inetg16/khunthrrm-criythrrm
บทเรียนรู้ ก่อนทำแบบทดสอบ
(แต่งข้อสอบโดย พระครูวินัยธรวชิรวิทย์ อาทิจฺโจ ประธานโครงการธรระมะออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความรู้)
หลักการครองตน ครองคน ครองงาน
ก.การครองตน
๑.การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
มี ความวิริยะ อุตสาหะ ในงานหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการอำนวยการ ควบคุมกำกับติดตามงานทั้งในรูปแบบการประชุม และติดตามในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และมีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยการ บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคไม่เคยแสดงออกถึงความย่อท้อ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นอย่างจริงใจ
๒. การประหยัดและเก็บออม
รู้จัก ใช้จ่ายตามควรแห่งฐานะ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรู้จักใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้เป็นประโยชน์และประหยัด โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ เช่น รถยนต์ และวางมาตรการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน
รู้จักมัธยัสถ์และเก็บออม เพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว ด้วยการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข และอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนดูแล บำรุง และรักษาทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวมพร้อมทั้งติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
๓. การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
เป็น ผู้รักและปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนดไว้โดยได้กำชับและมุ่งเน้นให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้มีการนำระบบควบคุมภายในและตรวจสอบภายในมาใช้ในหน่วยงาน พร้อมทั้งได้ประพฤติและปฏิบัติตน ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลโดยทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ และยังได้นำแนวทาง นโยบาย หรือข้อสั่งการของผู้บังคับบัญชามาท่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างทุ่มเทและจริง ใจซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการเชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ตรงต่อเวลาทั้งในเรื่อง งาน และวินัยส่วนตัว จะสังเกตได้จาก การนัดเวลาประชุม หรือการติดตามงานตามแผนผังกำกับงาน เป็นต้น
๔. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
เป็น บุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี
โดยละเว้นต่อการประพฤติชั่วและไม่ลุ่มหลงอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยได้เป็นรองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร พร้อมทั้งเสียสละแรงกายในฐานะกรรมการ และกำลังทรัพย์เพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ตกทุกข์ ซึ่งบ่งบอกถึงมีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อบุคคลอื่นโดยทั่วไป มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากการรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเครือข่ายองค์กรอื่นๆ
๕. การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ได้ ส่งเสริม สนับสนุนระบบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของทางราชการและรัฐบาลอย่างจริงจังและทุ่มเทโดยได้ถ่าย ทอดออกมาในรูปแบบแผนปฏิบัติการของหน่วยงานเพื่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันยังได้บรรจุเป็นกำลังพล กอ.รมน.จว.ยส. ในตำแหน่งหัวหน้าส่วนกิจการมวลชน
และได้เข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจและทำนุ บำรุงศาสนาในเทศกาลสำคัญทางศาสนา นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เช่น ป้องกันประเทศ เสียภาษี เคารพกฎหมาย เป็นต้น
ได้เข้าร่วมพิธี ในโอกาสสำคัญอย่างสม่ำเสมอ
ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามพระบรมราโชวาท เป็นกิจวัตรปกติซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงมีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสถาบัน
ข. การครองคน
๑. ความสามารถในการประสานสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่องาน
เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ
มี น้ำใจ ช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งเห็นได้จากการได้รับความไว้วางใจจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นประธานคณะกรรมการในหลายๆคณะ และหัวหน้าส่วนราชการอื่นได้กล่าวถึงในทางที่ดีอยู่เสมอๆ
๒. ความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความช่วยเหลือ
เป็นผู้มีความสามารถในด้านองค์ความรู้และทักษะในการในการคิดและเสนอเหตุผล ให้ความเห็น ปรึกษา และเสนอแนะในงานที่รับผิดชอบ และได้มีการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในงานที่รับผิดชอบ และเปิดโอกาสยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
๓.ให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์
เป็นผู้มีความสำนึกและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้การบริการด้วยความเต็มใจ และเสมอภาคกันทุกระดับ มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน
๔. การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น
เป็นผู้ประพฤติและปฏิบัติตรงตามหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ที่การกำหนดถือประโยชน์ของทางราชการหรือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ตัดสิน วินิจฉัย หรือแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล
๕. การเสริมสร้างความสามัคคีและร่วมกิจกรรมของหมู่คณะ ทั้งในและนอกหน่วยงาน
เป็น ผู้ให้ความร่วมมือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นภายนอกหน่วยงานจะเห็นได้จากการได้รับมอบหมาย จากผู้ว่าราชการจังหวัดให้จัดงานเพื่อสังคมอยู่เสมอเสมอ ส่วนภายในหน่วยงานนั้นได้ให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของทีมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญ ยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงานอย่างดียิ่ง
ค. การครองงาน
๑. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ strong>
เป็นผู้ใฝ่ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จ สนใจและเอาใจใส่งานที่รับผิดชอบโดยการกำหนดนโยบาย การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ สนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ
๒. ความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
เป็นผู้มีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมาย และ นโยบายอย่างถ่องแท้ และมีทักษะ ความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหา ด้วยมีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นอย่างดี รักและชอบงานที่ทำอย่างเต็มใจ จริงใจและทุ่มเท
๓. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงาน
เป็นผู้ มีความสามารถในการคิดริเริ่ม หาหลักการ แนวทาง วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถทำงานที่ยาก หรืองานใหม่ให้สำเร็จเป็นผลดี
๔. ความพากเพียรในการทำงาน และมีผลงานที่เป็นที่น่าพอใจ
nเป็นผู้ มีความกระตือรือร้น ต้องการที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ และอุทิศเวลาให้งาน จนได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงานอยู่เป็นประจำจะสังเกตจากการได้รับ รางวัลชนะเลิศในระดับจังหวัด ระดับเขต และประเทศอยู่เป็นประจำ
นอกจาก นี้ยัง สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนให้เภสัชกรเรียนเวชปฏิบัติเพื่อมาปฏิบัติงานใน รพ.ตำบล ทดแทนการขาดแคลนแพทย์
๕. การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชน
การ ปฏิบัติงานได้ยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นสำคัญ และ สอดคล้องกับความต้องการของส่วนรวมและประชาชน โดยคำนึงถึงการใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภคได้อย่างประหยัดและเหมาะสม ตลอดจนร่วมมือ ช่วยเหลือ และประสานงานระหว่างราชการกับประชาชนอย่างทุ่มเทและจริงใจ