Site icon สื่อการสอนฟรี.com

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

สวัสดีครับคุณครูทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเรา วันนี้ขอนำเสนอไฟล์ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว

เว็บไซต์สื่อการสอนฟรี ดอทคอม ของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไฟล์ตัวอย่าง โครงงานป้องกันยาเสพติด ห้องเรียนสีขาว จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณครูทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะครับ

โครงงาน   ชีวิตไม่โง่งม เพราะไม่ดมยาเสพติด
ผู้รับผิดชอบ   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1
ครูที่ปรึกษา   คุณครูแสงแข คงห้วยรอบ

ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันในประเทศของเราได้มีการใช้สารเสพติดอย่างแพร่หลายมากด้วยความอยากรู้อยากลองของวัยรุ่นในสมัยนี้ทำให้ซึ่งทำลายความมั่นคงของชาติและสังคมอย่างมาก เด็กเสียอนาคตสารเสพติดเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆแล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวันหรือวันละหลาย ๆ ครั้งปัญหายาเสพติดมิได้เกิดแต่เฉพาะประชากรในวัยแรงงานเท่านั้นปัญหานี้ยังเกิดขึ้นกับบุคคลในวัยเรียนด้วยเช่นกัน ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ของเยาวชนในสถานศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้นรวมทั้งนิดของยาเสพติดก็มีความร้ายแรงเพิ่มขึ้นตามลําดับ

              เราจึงคิดค้นที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาต่อสังคม กระทบกระเทือนต่อประชาชนผู้ไม่ได้เสพยาเสพติดอีกด้วย 

วัตถุประสงค์ที่ศึกษา
1. เพื่อศึกษาโทษและพิษภัยของยาเสพติด
2. เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากยาบ้า

ขอบเขตการศึกษา
   –    ศึกษาโทษและพิษภัยของสารระเหย
–    ศึกษาวิธีการป้องกันตนให้พ้นภัยจากสารระเหย

เป้าหมาย   นักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี
ระยะเวลา  มิ.ย. –  ก.ย. 59

วิธีดำเนินงาน

1.คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
2.แผ่นภาพการศึกษา/หนังสือเรียน
3.กระดาษ
4.สีเมจิก
5.สีไม้
6.ดินสอ
7.ยางลบ
8.ไม้บรรทัด

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.วางแผนการศึกษาข้อมูล ร่วมกับคุณครู และเพื่อนในห้องเรียน
2.กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา และกำหนดสมาชิกที่จะศึกษาค้นคว้า
3.ค้นคว้าจากแผ่นภาพการศึกษา ค้นคว้าจากอินเทอร์เนต หรือจากหนังสือห้องสมุด
4.รวบรวมข้อมูล จัดทำเป็น ข้อมูลในการจัดทำสื่อสร้างสรรค์ต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มวางแผนไว้ เช่น  แผ่นพับ ป้ายนิเทศ  ของจำลอง

5.ดำเนินการเผยแพร่ดังนี้
5.1 นำเสนอต่อเพื่อนในชั้นเรียน นำไปเป็นสื่อในห้องเรียนสีขาวและจัดป้ายนิเทศได้
5.2 นำเสนอในโอกาสวันสำคัญ เช่น วันต่อต้านยาเสพติดโลก
5.3 นำเสนอเป็นผลงานในชั้นเรียน ในวันเปิดโลกวิชาการ

6. สอบถามผู้ที่ได้ฟัง หรือได้รับสื่อสร้างสรรค์ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
7.นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง การดำเนินการในครั้งต่ไป

ผลการดำเนินงาน
จากผลการศึกษา ดังนี้

  1. ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า

                     ลักษณะของสารระเหย คือ เป็นสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้ในอากาศและมีคุณสมบัติในการทำลายและใช้ในการอุตสาหกรรม เช่น ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ กาว ฯลฯ เรานำสารระเหยมาใช้เป็นส่วนผสมในสีสเปรย์ น้ำยาล้างเล็บ กาวยางน้ำ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของสารระเหยไม่ใช่สารเสพติดแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม แต่ที่กลับกลายมาเป็นปัญหาเพราะคนนำมาใช้ในทางที่ผิด จงใจสูดดมให้เกิดอาการมึนเมาจนติด เกิดโทษพิษภัยอย่างมหันต์ เด็กและเยาวชนจำนวนมากที่หลงผิดหันไปลองสูดดมสารระเหย และเกิดภาวะเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณสมบัติของสารระเหย เนื่องจากสารระเหยมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย พกพาสะดวก ออกฤทธิ์เร็ว และ ช่วยให้ผู้เสพเคลิบเคลิ้ม เป็นสุข ร่าเริง ลืมความทุกข์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการเสพสารระเหย ทำให้ผู้เสพตัดสินใจเสพสารระเหยง่ายขึ้น

                     เราสามารถป้องกันการติดสารระเหยได้โดยการปฏิบัติดังนี้
                   1. รู้จักป้องกันตนเอง โดยการหาความรู้เกี่ยวกับสารระเหย อย่าหลงเชื่อคำชักชวนให้เสพ เมื่อมีปัญหาควรใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา ปรึกษาผู้ใหญ่ หรือหาทางออกโดยการเล่นกีฬา และทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ
                   2. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้สารระเหยในการประกอบอาชีพหรือทำงาน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลาก และขณะที่ใช้สารระเหยควรใช้ผ้าปิดปากจมูก อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่เหนือลม เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับสารระเหย
                   3. สำหรับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกต และสอดส่องดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ด้วยการให้ความรัก ความเข้าใจ ตลอดจนให้เวลาแก่บุตรหลานของตนเองอย่างเพียงพอ หากพบผู้ใดติดสารระเหย ไม่ควรกระทำการรุนแรง ควรรีบหาสาเหตุ และแก้ไข โดยปรึกษาแพทย์ และนำไปบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป

สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
จากการดำเนินงานโครงงาน ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
1.นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานีรู้ถึง โทษของการเสพสารระเหย
2.นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานีมีแนวทางป้องกันตนเองจากสารระเหย

บรรณานุกรม
–    http://www narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=6444

เครดิต :โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี

Exit mobile version