ดาวน์โหลดสื่อ

เจาะลึกทีละขั้นตอน PLC ทำตามได้ไม่ยาก!

เจาะลึกทีละขั้นตอน PLC ทำตามได้ไม่ยาก!

PLC ทำตามได้ไม่ยาก!!

ใครยังไม่รู้จะเริ่มยังไง ขั้นตอนการทำมีอะไรบ้าง เรามีคำตอบ พร้อมมีตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกการทำ PLC มาฝากกันด้วยครับ ทั้งนี้ต้องขอบคุณตัวอย่างแบบฟอร์มดีดีเพื่อเพื่อนคุณครูทุกท่านจาก : โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา ไปทำตามกันทีละขั้นตอนได้เลยครับ

ก่อนจะไปลงมือทำ PLC เราจะต้องมาทำความรู้จักความหมาย PLC ให้ชัดกันก่อนว่าหมายความว่าอะไรกันแน่! 
 P มาจาก Professional 
 L มาจาก Learning
 C มาจาก Community
.
แปลความหมายตรงตัวเลยว่า : PLC = ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นั่นเองครับ

แล้วมันมีเพื่ออะไร ครูบางท่านคงพอรู้แล้ว เราขอขยายให้ทราบกันอีกครั้งนะครับ
เพื่อ >> แลกเปลี่ยนปัญหาที่ได้เจอ และเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก 
ร่วมกันแก้ปัญหานั้นนำมาพัฒนาต่อ จนแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ

ขั้นตอน PLC ว่ามีขั้นตอนในการทำอย่างไร ต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน? 

ขั้นตอนในการทำ PLC เราสรุปมาให้เป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ด้วยกัน ดังนี้ครับ
 ขั้นตอนที่ 1 : การสร้างทีม จะเริ่มสร้างทีมยังไง เลือกใครเป็นทีมงานกับเราดี คำถามนี้เราจะมาหาคำตอบกัน!
 ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดปัญหาที่แท้จริง ให้ครูเริ่มจากปัญหาที่ครูเจอบ่อยๆ พบบ่อยๆ 
และเป็นปัญหาที่เด็กๆส่วนใหญ่เป็นกัน และครูยังหาทางแก้ไม่ได้ นั่นแหละครับปัญหาที่เราจะหยิบมาทำได้
 ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนการแก้ไข และกระบวนการ แผนดีมีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอน คำพูดนี้ยังใช้ได้ทุกสถานการณ์นะครับ 
ครูและเพื่อนครู ต้องทำการวางแผน แบ่งหน้าที่ของแต่ละคน รวมทั้งหาวิธีการแก้ไข สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานไว้ด้วย
 ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือปฏิบัติตามแผน เมื่อวางแผนเสร็จ กระบวนการทำเสร็จ ก็ถึงขั้นลงมือปฏิบัติสิครับ ลองผิดลองถูก กันเลย ครับคุณครู
 ขั้นตอนที่ 5 : สนทนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ ขั้นตอนนี้ครูต้องกลับมาสรุปกันในทีมก่อน แสดงความเห็นร่วมกันว่าปัญหาที่เราเลือกและนำวิธีแก้ไขไปใช้นั้น 
สามารถใช้ได้จริงไหม หรือถ้ามันไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ ให้กลับไปเริ่มที่ข้อ 3 กันใหม่ อย่าเพิ่งท้อนะครับครู 

เมื่อรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอนคร่าวๆไปแล้ว ในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

มาเจาะทีละขั้นตอนไปพร้อมๆกันนะครับ 

 เริ่มขั้นตอนที่ 1 สร้างทีม 
ต้องถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการสร้างทีมงาน หาทีมงาน ที่จะร่วมกันทำ PLC คุณครูต้องจับกลุ่มเลือกทีมกันเองโดยคุณครูรวมกลุ่มครูด้วยกัน

ได้ตามความเหมาะสม อาจจะเป็นเพื่อนครูที่สนิทกัน กลุ่มสาระเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน มาจับกลุ่มรวมกัน จะได้ทำงานกันง่ายขึ้น หรือจะต่างกลุ่มสาระ ต่างโรงเรียน 
ก็ได้เช่นกันครับ และอาจจะต้องหาครูที่พอจะทำเรื่องเทคโนโลยีมาช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นเพื่อความต่อเนื่องของการทำ PLC 
เช่น การสร้างกลุ่มไลน์ วิดีโอคอล ประชุมกันก็ได้เช่นกันครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวก ของคุณครูนะครับ แต่อย่าลืมนะครับ “เริ่มต้นดี PLC ก็เกิด” 
.
แบบที่ 1 : กลุ่มสาระเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน + อยู่โรงเรียนเดียวกัน
แบบที่ 2 : ต่างกลุ่มสาระ + สอนระดับชั้นเดียวกัน + อยู่โรงเรียนเดียวกัน
แบบที่ 3 : กลุ่มสาระเดียวกัน + ครูต่างโรงเรียน 
แบบที่ 4 : ต่างกลุ่มสาระ + สอนระดับชั้นเดียวกัน + ครูต่างโรงเรียน

 ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาที่แท้จริง
.
ขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้การสร้างทีม เพราะ “การกำหนดปัญหา” เราจะต้องหาทางแก้ไขปัญหานั้นให้ได้ด้วย

คุณครูหลายๆคน อาจจะยังมองไม่ออกว่าจะต้องเริ่มปัญหาจากไหน และสิ่งที่ง่ายที่สุดคือให้เรามองไปรอบๆตัวก่อน

และเลือกหยิบปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ๆตัวเราก่อน จะเป็นปัญหาเล็กๆก่อนก็ได้ แต่ต้องคำนึงว่าปัญหานั้นจะมาช่วยนักเรียนได้ 
เช่น เด็กไม่ยอมทำการบ้าน หรือไม่ส่งงานตามกำหนด เป็นอีกหนึ่งเรื่องใกล้ตัวที่สามารถทำสำเร็จภายใน 1 ภาคเรียน และสามารถเชื่อมโยงกับสมรรถนะ
และคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักเรียนได้

 ขั้นตอนที่ 3 กาวางแผนและออกแบบกระบวนการ
.
เมื่อเราได้กำหนดปัญหาเรียบร้อยแล้ว คุณครูและทีมงานต้องมาร่วมกันออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้
โดยให้เริ่มจากการวางแผนกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน แบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคลว่า ใครจะทำหน้าที่อะไรบ้าง
ซึ่งจะต้องมี ผู้ดำเนินการ ผู้จับเวลา ผู้บันทึกคำถามตำตอบ ผู้เก็บภาพพฤติกรรมนักเรียน ผู้สังเกตการณ์ ทุกหน้าที่มีความสำคัญอย่างมาก

ควรแบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้ชัดเจน และทุกคนต้องรับฟังซึ่งกันและกัน และสิ่งสำคัญในการวางแผนก็คือต้องพยายามทำให้บรรลุเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

และต้องตอบโจทย์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เราวางไว้ด้วยนะครับ

และแล้วก็มาถึงช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ นั่นคือการลงมือปฏิบัติจริง นั่นเอง!
.
 ขั้นตอนที่ 4 เป็นการลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่ทีมได้คิดกันมาอย่างดีแล้ว


โดยให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมและประจำตำแหน่งหน้าที่ตามที่วางไว้ตามแผน ซึ่งในระหว่างการจัดการเรียนการสอนสิ่งที่ควรบันทึก/ข้อมูลที่เราควรจะเก็บระหว่างจัดการเรียนการสอน มีอะไรบ้างไปดูกันครับ

> ข้อมูลพื้นฐานของกิจกรรมที่ทำ : ชื่อเรื่อง กลุ่มนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม วันที่ เวลาเริ่มต้น ถึงสิ้นสุด เป็นต้น 
> บรรยากาศช่วงเริ่มต้นการสอน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ว่านักเรียนมีปฏิกิริยากับสิ่งที่คุณครูสอนอย่างไรบ้าง สนใจมากน้อยแค่ไหน
> การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนให้ระบุสาเหตุด้วย 
> พฤติกรรมนักเรียนระหว่างจัดการเรียนการสอน เกิดการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
> ครูมีวิธีจัดการ/ดำเนินการกับนักเรียนที่แสดงออกมาระหว่างเรียนว่ารู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องในเรื่องที่สอนอย่างไรบ้าง
> ระหว่างจัดการเรียนการสอน มีสิ่งใดที่เป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อน หรือต้องแก้ไขส่วนใด 

สุดท้าย… เราก็มาถึงขั้นตอนที่ลุ้นที่สุดกันแล้วครับบบ !! 
.
 ขั้นตอนที่ 5 การสนทนาสะท้อนผลการปฏิบัติเมื่อคุณครูได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมาร่วมกันตั้งคำถาม สะท้อนคิดผลจากการที่ได้จัดการเรียนการสอนไปแล้ว 
.
โดยในการสรุปนั้น พยายามตอบคำถามใน 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ ให้ไดมากที่สุดครับ
> นักเรียนได้เรียนรู้และเกิดพฤติกรรม ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยแค่ไหน?
> เรารู้ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือบรรลุตามเป้าหมายที่เราวางไว้
> เราจะจัดการหรือหาวิธีทำอย่างไรกับกลุ่มนักเรียนที่ไม่เกิดการเรียนรู้หรือไม่บรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมาย
> เมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมายแล้วจะทำอย่างไรต่อ?
> หาคำตอบกันให้ได้มากที่สุดนะครับ เพราะยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ เราจะมีข้อมูลไปวิเคราะห์ในการทำ PLC 
ในวงรอบต่อไปง่ายขึ้นครับ
.
>> และจากนั้น ให้สมาชิกในทีมร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่ โดยครูคนที่เป็นเจ้าภาพจัดการเรียนรู้ 
นำผลที่สรุปไว้มาบันทึกรวบรวมผล และเก็บไว้ให้เรียบร้อย 
บอกเคล็ดลับกันนิดนึงครับ

**เทคนิคการสรุปผล : ควรบรรลุ 2 เป้าหมายดังนี้ครับ
>> ในการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ต้องสะท้อนว่ากว่าจะสามารถพัฒนาลูกศิษย์ให้บรรลุผลได้นั้น สมาชิกได้มี “บทเรียนที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน” อย่างไรบ้าง ส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก!ผลจากการสรุปต้อง “นำไปสู่การวางแผนจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่” เพราะจะทำให้เกิดความแม่นยำในการแก้ปัญหาและ
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
.
>> และสุดท้ายเมื่อสรุปผลครบถ้วน ครูสามารถเริ่มดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่ได้เลย นั่นก็คือกลับไปใน ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนและออกแบบกระบวนการ นั่นเอง
วนกลับมาทำอีกครั้งซึ่งเมื่อเกิดการทำแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายจะกลายเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ที่มีความเฉพาะเจาะจงของโรงเรียนนั้นๆ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มการเรียนรู้นั้นๆและจะทำให้เราเป็น “ครูมืออาชีพ” มากขึ้น!

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิกที่นี่

ที่มาขอบทความ ขอขอบคุณ https://www.learneducation.co.th/

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button