ข่าวทั่วไป

กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง

กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง

กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง

กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง

กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง ยืนยันเงินคงคลังยังเข้มแข็ง มีเพียงพอในการเบิกจ่าย

ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง รวมทั้งประเด็นปัญหาหนี้เสีย (NPLs) ของสถาบันการเงิน

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างรวมทั้งประเด็นปัญหาหนี้เสีย (Non-Performing Loans: NPLs) ของสถาบันการเงินดังนี้

ประเด็นการงดจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการเดือนกันยายน 2563 และกระทรวงการคลังจะสามารถจ่ายเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างได้อีกเพียง 3 เดือนนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด กรณีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการไม่ได้มีการงดจ่าย แต่เป็นเพียงการเลื่อนจ่ายเนื่องจากมีการปรับปรุงยอดงบประมาณให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ในเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการจ่ายเงินดังกล่าวในปีงบประมาณ2563โดยขณะนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อมาจ่ายเงินดังกล่าวแล้วและกรมบัญชีกลางจะได้ดำเนินการจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิ์ต่อไปโดยจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2563 นี้

สำหรับกรณีเงินเดือนข้าราชการนั้นรัฐบาลได้จัดสรรค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างของบุคลากรภาครัฐไว้อย่างเพียงพอแล้วตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีในแต่ละปี และขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

ทั้งนี้เงินคงคลังในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง เพียงพอเพื่อรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐซึ่งรวมถึงเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรหรือรายได้อื่นๆ เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศได้ตามปกติ และโฆษกกระทรวงการคลังได้ยืนยันว่า กระทรวงการคลังยังมีแหล่งเงินที่เพียงพอ เพื่อรองรับการใช้จ่ายของหน่วยงานภาครัฐและดำเนินนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงประเด็นปัญหา NPLsของสถาบันการเงินว่า รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงิน ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวและได้ดำเนินการโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา NPLs ของผู้ประกอบการและประชาชนโดยเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน (Preemptive Debt Restructuring) และรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาNPLsโดยกลไกดังกล่าวจะเป็นการลดภาระหนี้ของลูกหนี้ อันจะเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จ่ายตลอดระยะเวลาสัญญาจะไม่เพิ่มขึ้นแต่จะทำให้ลูกหนี้มีภาระที่ต้องจ่ายต่องวดลดลงซึ่งแตกต่างจากการขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ที่ลูกหนี้ยังคงต้องชำระหนี้ในช่วงที่มีการพักชำระหนี้ซึ่งอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จ่ายตลอดสัญญาสูงขึ้นทั้งนี้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และรวมหนี้มีรายละเอียดดังนี้
1. โครงการDR BIZ กำหนดให้มีกลไกบรรเทาและจัดการหนี้ธุรกิจของลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย (Multi-Creditors) ซึ่งเป็นการลดภาระหนี้ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพแต่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อันจะเป็นการรักษาการจ้างงานและส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ
2. โครงการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation) กำหนดแนวทางให้ลูกหนี้รายย่อยสามารถรวมหนี้ประเภทต่างๆที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเช่นบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อเป็นต้นมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อให้ลูกหนี้มีภาระหนี้ลดลงโดยการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเช่นสินเชื่อบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับทำให้ลูกหนี้มีภาระในการผ่อนชำระหนี้ลดลงนอกจากนี้การขยายระยะเวลาการชำระหนี้หรือการปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นการลดภาระหนี้ของลูกหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่ทำให้ลูกหนี้เสียประวัติข้อมูลเครดิตรวมทั้งยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหลือได้

กระทรวงการคลังคาดว่าธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างดีเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และโครงการดังกล่าวจะช่วยรักษาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้และป้องกันปัญหาNPLs ในระบบสถาบันการเงินนอกจากนี้ภาครัฐยังได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเช่นโครงการเราเที่ยวด้วยกันเป็นต้นและมีแผนที่จะดำเนินนโยบายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ

สำหรับประเด็นการกันสำรองของสถาบันการเงินกรณีที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นNPLs นั้นในทางปฏิบัติเมื่อสถาบันการเงินมีการกันสำรองเมื่อลูกหนี้เป็นNPLs สถาบันการเงินจะเป็นผู้เก็บเงินไว้เองโดยไม่ต้องส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่อย่างใดโดยการกันสำรองของสถาบันการเงินเป็นการดำเนินการเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่สามารถติดตามหนี้ได้ซึ่งเป็นกลไกบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฐานะทางการเงินและกระทบต่อเงินฝากของประชาชน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3586 และ 3219

ขอบคณที่มา สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station

https://www.facebook.com/MoFNewsStationThailand/photos/a.237371916468132/1473716856166959/?type=3&eid=ARB_cdNMxKxdeW5diYH02DYc5jwm-H47fFllW00tW2et6GmZ3QphIKSxdMEj3SaO4qWyMiGYXqYx6pB-&__tn__=EHH-R

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button