ข่าวการศึกษา

แนวทางดำเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563


แนวทางดำเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

แนวทางดำเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

1.วัตถุประสงค์ของการประเมิน NT และ RT เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูลความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และทราบถึงสาระการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา นำข้อมูลไปสู่การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนในปีการศึกษาถัดไป อีกทั้งทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

2.หลักการและแนวคิดของการประเมิน NT และ RT เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด วินิจฉัยสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคล เน้นนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น เตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนการเรียนในปีการศึกษาต่อไป ครูผู้สอนสามารถนำผลการประเมินไปใช้ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน และวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล

3.กรอบการประเมิน NT มี 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านภาษาไทย และความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกรอบการประเมิน RT มี 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านการอ่านออกเสียง และความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่อง ที่เน้นการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)

4.กลุ่มเป้าหมายการประเมิน NT คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และกลุ่มเป้าหมายการประเมิน RT คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 8 สังกัด ประกอบด้วย

1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

3) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

5) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

6) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

7) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา

8)การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Homeschool)

5.กำหนดการการประเมิน NT คือ สอบวันที่ 24 มีนาคม 2564 และประกาศผลวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และการประเมิน RT คือ สอบระหว่างวันที่ 8 – 12 มีนาคม 2564 (ตามความพร้อมของสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนด) และประกาศผลวันที่ 20 เมษายน 2564

6.แนวทางการดำเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 สทศ.สพฐ. ยังคงมีการดำเนินการประเมิน NT และ RT ปีการศึกษา 2563

6.1 การประเมิน NT

(1) สพฐ. จัดพิมพ์เครื่องมือประเมิน NT ตามจำนวนข้อมูลผู้เรียนที่สถานศึกษานำเข้าในระบบในแพลตฟอร์มการบริหารจัดการสอบ (NT Access) ที่สำนักทดสอบทางการศึกษาพัฒนาขึ้น และจัดส่งไปยังศูนย์สอบทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้

(2) ดำเนินการประเมิน NT จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 8 สังกัด

(3) ศูนย์สอบดำเนินการจัดสนามสอบ โดยกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นสนามสอบ (จัดให้มีผู้เรียนห้องสอบละ 20 คน) เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายนักเรียนออกจากพื้นที่ ยกเว้นในกรณีที่มีนักเรียนจำนวนน้อยไม่ถึง 5 คน อนุโลมให้มีการเคลื่อนย้ายไปรวมกับสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและประหยัดงบประมาณ โดยให้จัดห้องสอบเพิ่มตามจำนวนสถานศึกษาที่นักเรียนมาร่วมสอบในสนามสอบนั้น ๆ และให้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า2019 อย่างเคร่งครัด

(4) ศูนย์สอบแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบและสนามสอบ โดยกรรมการคุมสอบในแต่ละห้องต้องมาจากต่างโรงเรียน และกำหนดให้มีกรรมการคุมสอบห้องละ 2 คน

(5) ข้อสอบที่ใช้ในการประเมินคุณภาพประกอบด้วยข้อสอบปรนัยและอัตนัย โดยการตรวจข้อสอบอัตนัย สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ การตรวจข้อสอบที่สนามสอบ และการตรวจข้อสอบในสถานที่ที่ศูนย์สอบกำหนด แล้วจัดส่งผลการทดสอบทั้งข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัยไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(6) ศูนย์สอบและสนามสอบศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสอบตามคู่มือการประเมิน NT ที่ สพฐ.จัดส่งให้

6.2 การประเมิน RT

(1) สพฐ.จัดพิมพ์เครื่องมือประเมิน RT ตามจำนวนข้อมูลผู้เรียนที่สถานศึกษานำเข้าในระบบในแพลตฟอร์มการบริหารจัดการสอบ (NT Access) ที่สำนักทดสอบทางการศึกษาพัฒนาขึ้น และจัดส่งไปยังศูนย์สอบทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้

(2) ดำเนินการประเมิน RT จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 8 สังกัด

(3) กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งเป็นสนามสอบ โดยจัดให้มีผู้เรียนห้องสอบละ 20 คน และให้ดำเนินการสอบตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า2019 อย่างเคร่งครัด

(4) ศูนย์สอบแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบ และให้ครูผู้สอนในสถานศึกษาที่เป็นสนามสอบเป็นกรรมการคุมสอบแต่ละห้อง โดยกำหนดให้มีกรรมการคุมสอบห้องละ 2 คน หากมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีใดๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบ

(5) ศูนย์สอบและสนามสอบศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสอบตามคู่มือการประเมิน RT ที่ สพฐ.

จัดส่งให้ https://bet.obec.go.th/New2020/?p=2400

ที่มา วิษณุ ผอ.สทศ.

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button