เรื่องแนะนำ

ทำไมครูต้องทำวิจัย…….?

ครูกับการวิจัย ทำไมครูต้องทำวิจัย

การวิจัยเป็นเครื่องมือ เป็นกระบวนการที่ทุกงานในทุกสาขาอาชีพใช้ในการหาความรู้ หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ

งานของครูนับเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการความเชื่อถือได้ในผลงาน ซึ่งถ้าครูใช้การวิจัยในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นได้ในการทำงานของครูและเป็นการประกันคุณภาพลักษณะหนึ่ง

การวิจัยแบบง่าย: บันใดสู่ครูนักวิจัย

ความเป็นมา

หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ การปฏิรูป การเรียนรู้และผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ “ครู” หน้าที่โดยตรงของครู คือการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน ดังนั้น ครูจะต้องใช้ความพยายามอยู่ตลอดเวลากับการค้นหาวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเองซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า การวิจัยเป็นกระบวนการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ ดังนั้น ถ้าครูได้นำหลักการสำคัญการวิจัยมาใช้ในการค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนจะช่วยหาคำตอบหรือตอบคำถามที่ต้องการได้

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหายแม่บทด้านการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทย ได้กล่าวถึงครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวย ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ

มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เห็นว่า พ.ร.บ. การศึกษาฉบับนี้ให้ความสำคัญในการกระบวนการวิจัยมาใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยตนเองซึ่งการวิจัยเป็นกระบวนการที่ต้องมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต การปฏิบัติจริงของครูมิใช่แยกส่วนจากการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา การเรียนการสอนจึงเกิดขึ้นพร้อมกันในการปฏิบัติงานการเรียนการสอนตามปกติของครู

การวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้หรือเป็นข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้

การวิจัยในชั้นเรียน กับ การเรียนการสอนถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ ครู สามารถทำการวิจัยไปพร้อมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยปกติได้ตลอดเวลา โดยยึดหลักว่า การสอนนำและการวิจัยตาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูง เหมือนกับการวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไปก็ได้ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการแจกแจงความถี่ เป็นต้น

การวิจัยในชั้นเรียนหรือข้อค้นพบในชั้นเรียน

เป็นวิธีการหนึ่งที่ครูผู้สอนนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้ การวิจัยครูทุกคนจะต้องทำในโรงเรียนจนเกิดวงจร PDCA คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นวิธีการที่ซับซ้อนมาก ใช้สถิติสูงและผู้วิจัยต้องมีความรู้สูงๆ จบปริญญาโทหรือปริญญาเอกมาจึงจะทำได้ ในทางปฏิบัติครูผู้สอนทุกคนสามารถวิจัยระดับชั้นเรียนได้ถ้าได้ศึกษาวิธีการเพิ่มเติมจากเอกสารหรือผู้ปฏิบัติจริง ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้สอนจะต้องทำควบคู่กันไประหว่างการสอนกับการวิจัย หากเก่งสอนแต่ขาดการวิจัย หรือเก่งวิจัยแต่ขาดการจัดการเรียนการสอนไม่ดี ก็เป็นครูนักวิจัยไม่ได้ การจัดการเรียนการสอนครูที่ประสบผลสำเร็จมักจะทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนหรือเรียกว่า “ครูนักวิจัย”

ความหมาย  เป็นการค้นคว้าหาคำตอบอย่างเป็นระบบมีแบบแผน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนอาศัยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนเป็นนักวิจัยแยกออกได้เป็น 2  ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1 นักวิจัยทางการศึกษา เป็นการวิจัยที่ละเอียด 5 บท ที่ใช้ศึกษาในระดับปริญญาเอก ปริญญาโทมีการจัดอบรมกันทั่วไป 4 วัน 5 วัน และเมื่ออบรมแล้วไม่มีคนวิจัยไจได้ บ่นปวดหัวไปตามๆ กันเพราะต้องใช้สถิติระดับสูงในที่สุดครูที่สอนในโรงเรียนก็ไม่ประสบผลสำเร็จในการวิจัยในชั้นเรียนได้เลย

ลักษณะที่ 2 ครูนักวิจัย เป็นการวิจัยที่ทำควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะต้องสอนและวิจัยไปด้วย แต่การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ครูผู้สอนศึกษาค้นคว้าเพื่อ แก้ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ ควรมีลักษณะดังนี้

  1. ครูคนเดียวแก้ปัญหา
  2. ครูหลายคนร่วมกันแก้ปัญหา
  3. ครูทั้งโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหา

ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียนครูแบบง่ายสำหรับครู

เมื่อพบปัญหาหรือเมื่อมีจดหมายเพื่อจะพัฒนาผู้เรียน ควรดำเนินการดังนี้

  1. กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน
  2. ออกแบบการสอน
  3. ปฏิบัติการสอน
  4. บันทึกผลการสอน
  5. รายงานผลการสอน

การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบ เช่นเดียวกันกับการ รายงานผลการวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งต้องมีการนำเสนอ 5 บท แต่การรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนควรนำเสนอข้อมูลตามสิ่งที่เป็นจริงพร้อมกับมีร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สามารถนำเสนอผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียวหรือแบบ 3-10 หน้าก็ได้ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนอ ได้แก่

–          ที่มาและปัญหา

–          วัตถุประสงค์

–          วิธีการศึกษา (การออกแบบการสอน)

–          ผลการศึกษา (ผลการสอน)

–          อภิปรายผล

–          ข้อเสนอแนะ

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่านั้น อาจเลือกเขียนได้ 3 รูปแบบ คือ 

            รูปแบบที่หนึ่งเป็นแบบลูกทุ่ง  เน้นรางานการวิจัย ไม่เน้นวิชาการหรือไม่เป็นทางการโดยเขียนใน 3 ส่วนคือ ปัญหาคืออะไร แก้ไขอย่างไรและผลการแก้ไขเป็นอย่างไร

            รูปแบบที่สองเป็นแบบลูกกรุง  เป็นรายงานการวิจัยกึ่งวิชาการ โดยเขียนสาระสำคัญตามหัวข้อ ต่อไปนี้ คือ ชื่อเรื่องความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษาตัวแปรที่ศึกษา ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับวิธีดำเนินการ วิจัยและผลการวิจัยซึ่งอาจมีประเด็นการสะท้อน ความคิดของครูนักวิจัยต่อผลการวิจัยหรือผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้้เพิ่มเติมอีกก็ได้

รูปแบบที่สามเป็นแบบสากล  เน้นรายงานการวิจัยเชิงวิชาการ (Academic report) ที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะกำหนดไว้แล้วที่สามารถศึกษาเรียนรู้ดูตัวอย่างได้เอง

การพัฒนาผู้เรียนอ่างเป็นระบบด้วยกระบวนการวิจัย แท้จริงก็คือ การจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหาหรือจุดประสงค์ให้ชัดแจ้งออกแบบแผนการสอน ปฏิบัติการสอน การประเมินผลตามสภาพจริง  การบันทึกผลการสรุปรายงานอย่างเป็นระบบซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเสมือนหนึ่งเป็นเกลียวเชือกเส้นเดียวกัน  โดยครูควรปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตประจำวันตามปกติ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนส่งผลให้ครูกลายเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริงตลอดไป

สรุปแนวคิด…สู่การวิจัยแบบง่าย

การทำวิจัยในชั้นเรียน ทำได้ 2 วิธี

  1. ปัญหาการเรียนการสอน การแก้ ใช้นวัตกรรมสื่อต่างๆ
  2. ปัญหาด้านพฤติกรรม (Case) การแก้ ใช้กิจกรรม

ลักษณะการทำวิจัยแบบง่าย มี 3 ลักษณะ

  1. ครูคนเดียวแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ครูพบในห้องเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ
  2. ครูตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกันแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ต้องให้ครูอื่นช่วยเหลือ
  3. ครูทั้งโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหา เป็นปัญหาที่ครูทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหา

การวิจัยในชั้นเรียนทำได้ 3 แบบ

  1. แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานสั้นๆ คือ ปัญหา วิธีแก้ไข ผลการแก้ไขแล้วแต่รูปแบบของครูแต่ละคนไม่ต้องแนบหลักฐานเก็บไว้ที่ห้องเรียนวิธีการแก้ปัญหาเป็นกลวิธีของแต่ละคนไม่ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ
  2. แบบลูกทุ่ง เขียนรายงานในประเด็นหลัก ประมาณ 3-10 หน้าอาจแนบเอกสารประกอบหรือเก็บไว้ที่ห้องเรียน
  3. แบบสากล เป็นการเขียนรายงานแบบ 5 บท เชื่อถือ ตรวจสอบเป็นสากลได้

การเขียนรายงานวิจัยแบบง่าย  น่าจะประกอบด้วย

  1. ปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. หานวัตกรรมมาแก้
  3. วัดผลจากนวัตกรรม
  4. เขียนรายงาน

ดังนั้น  การทำวิจัยในชั้นเรียน ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24(5)  และมาตรา 30 ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราไปยึดติดกับวิจัย 5 บท ที่เรียนในระดับปริญญาโท  ปริญญาเอก ที่ใครๆ เขาว่ายากแต่เปล่าเลยง่ายจริงๆ ขอให้ลงมือทำท่านทำ วิจัยมากมาแล้วแต่ท่านยังไม่รู้จักตนเองว่าได้ทำเนื่องจากกลัวผิด

ที่มา https://etraining2012.wordpress.com/

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button